พัฒนาการเด็ก คู่มือเลี้ยงลูก หนังสือเสริมพัฒนาการ ของเล่นเสริมพัฒนาการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารเด็ก เด็กสองภาษา ดนตรีเพื่อลูกรัก นิสัยการนอน ฟันน้ำนมซี่แรก ภาษาลูกน้อย หน้าที่ของบิดามารดา เลี้ยงลูกให้ฉลาด เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก คู่มือเลี้ยงเด็ก



พัฒนาการเด็ก
ยินดีต้อนรับสู่ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับลูกน้อย
พัฒนาการลูกรัก ♥ ช้าไม่ได้ อ่านเลยนะคะ
ถ้าเห็นว่าเว็บไซต์นี้ดีมีประโยชน์ โปรดช่วยบอกต่อ

ลูกดูดนมแม่แล้วเจ็บทำอย่างไรดี

0 comments
#วิธีแก้ไขปัญหาเจ็บหัวนม
โดย พ.ญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและคุณแม่ลูกสอง 



ใครที่เคยมีประสบการณ์หัวนมแตก บอกได้เลยว่า "เจ็บมากมาย" จนอาจทำให้คุณแม่หลายท่านถอดใจอยากเลิกให้ลูกดูดเต้า ทั้งๆที่เดิมเคยตั้งใจไว้อย่างมากว่าจะให้ลูกดูดนมให้นานที่สุดก็ตาม

...แต่ช้าก่อนค่ะ อย่าเพิ่งเลิกค่ะ จนกว่าจะได้อ่านโพสต์นี้จบก่อน

อาการเจ็บหัวนมในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด และ เป็นแค่ตอนลูกเข้าเต้าตอนแรก แต่ไม่ได้เจ็บตลอดการดูดนม อาการเจ็บหัวนมอย่างมากที่เป็นนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ หรือ เจ็บตลอดการดูดไม่ใช่เรื่องปกติของแม่มือใหม่ที่ให้นมลูก

...แต่ถ้ายังมีปัญหาหัวนมแตกเกิดขึ้น ควรรีบแก้ไขปัญหาทันที อย่ารอนานเกินไป เพราะยิ่งเร็ว ยิ่งง่ายต่อการแก้ไขปัญหา ต่อไปนี้ คือ 7 ปัญหาที่พบบ่อยของอาการหัวนมแตก รวมถึงวิธีป้องกัน และ แก้ไขในเบื้องต้น

1.ท่าดูดผิด เช่น อุ้มลูกมาดูดแบบเป็นม้วนเป็นห่อ ทำให้แขนลูกมากั้นอยู่ระหว่างตัวลูกกับเต้านมคุณแม่ หรือ อุ้มลูกอยู่ในท่านอนหงาย หันแต่ศีรษะลูกมางับหัวนม หรือ อุ้มลูกไม่แน่นหนา ลำตัวลูกหล่นลงไปที่ตักของคุณแม่ หรือ ลูกชอบดูดๆ ผละๆ เข้าๆ ออกๆ จากหัวนม จะทำให้เกิดการดึงรั้งหัวนม ทำให้หัวนมแตก

วิธีแก้ไข คือ อย่าอุ้มมาดูดแบบมัวนผ้า ให้คลี่ผ้าออก แขนทั้งสองข้างไม่มากั้นขวางระหว่างตัวลูกกับเต้านมคุณแม่ จัดท่าให้ลูกตะแคงทั้งลำตัวและศีรษะ และ จัดลำตัวลูกไม่ให้ห้อยตกลงไปที่หน้าตัก แต่ไม่จำเป็นต้องหนีบด้วยแขนคุณแม่ไว้ตลอดเวลา เพราะจะเมื่อยแขนมาก แต่ให้ใช้หมอนมาหนุนแทน ถ้าได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ต้องรักษาตำแหน่งไว้ให้ดี ไม่ให้หลุดง่ายๆ



2.การดูแลหัวนมผิดวิธี เช่น อาบน้ำอุ่น ฟอกสบู่ เช็ดหัวนมด้วยสำลี การแพ้แผ่นซับน้ำนม

วิธีที่ถูกต้อง คือ อาบน้ำอุณหภูมิปกติ เพราะนำ้อุ่นทำให้ผิวแห้งแตกง่าย อย่าตั้งใจฟอกสบู่ที่หัวนม ให้ฟอกที่อื่นได้ น้ำสบู่ไหลผ่านหัวนมได้ แล้วล้างน้ำออกตามปกติ ไม่ต้องบรรจงทำให้หัวนมสะอาดมากกว่าการอาบน้ำตามปกติ ระหว่างวัน ไม่ต้องใช้สำลีเช็ดหัวนมเพื่อทำความสะอาดก่อนลูกกิน แต่ให้ล้างมือให้สะอาด แล้วอุ้มลูกมาเปิดเต้านมกินนมได้เลย ลูกกินเสร็จ ให้บีบน้ำนมออกมา 2-3 หยดทาที่หัวนมและลานนมให้ทั่วๆ รอให้แห้ง แล้วค่อยปิดเต้าเก็บ ถ้าเป็นแผลแล้ว ให้ทาด้วยยา oral T paste บางๆ 2-3 วันแผลก็จะหาย เวลาลูกมากินครั้งต่อไป ไม่ต้องเช็ดยาออก ให้ลูกกินได้เลย เพราะถ้าเช็ดก็เป็นการรบกวนผิวหนัง ทำให้แผลไม่หาย

3.พังผืดใต้ลิ้น : เป็นเส้นเนื้อเยื่อที่ยึดลิ้นไว้กับพื้นปาก บางคนเส้นสั้นมากกว่าคนอื่น ทำให้แลบลิ้นออกมาได้ไม่เต็มที่ เวลาดูดนมจะเสียดสีทำให้หัวนมแตกง่าย ลูกเมื่อยลิ้น ลูกไม่ชอบดูดเต้า จะหงุดหงิด หรือ ดูดไปหลับไป ใช้เวลานาน นน.ขึ้นไม่ดี โตขึ้นจะพูดไม่ชัด

วิธีตรวจดูว่ามีพังผืดใต้ลิ้น ทำโดยการใส่นิ้วเข้าไปแทรกระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นปาก จะทำได้ยาก ถ้าสงสัยว่าลูกมีปัญหานี้ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขลิบเส้นบางๆนี้ออก

แก้ไขโดย การขลิบง่ายๆ เจ็บน้อยมาก ทำเสร็จดูดนมได้ทันที ทำได้ที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) หรือที่รพ.ศิริราช ซึ่งเชี่ยวชาญในการทำมากๆ

4.ปั๊มแรงเกินไป ขนาดกรวยเล็กไปใหญ่ไป ถ้าเจ็บมากปั๊มไม่ไหว ดูดก็ไม่ไหว ต้องใช้มือบีบนมออกจากเต้า อย่าคานมทิ้งในเต้า จะทำให้เกิดเต้านมอักเสบ และ น้ำนมลดลง

5.ติดเชื้อรา : จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน เหมือนมีดบาด และเจ็บตลอดเวลาที่ลูกดูดนม เชื้อราชอบที่อุ่น อับ และ ชื้น หัวนมจึงเป็นที่เหมาะสมสำหรับเชื้อราเป็นอย่างยิ่ง

การป้องกันทำได้โดย อย่าใช้แผ่นซับน้ำนมชนิดที่ทำจากพลาสติก ให้ใช้ชนิดที่ทำจากผ้าฝ้าย ให้เปลี่ยนบ่อยๆอย่าให้ชื้นแฉะ เหมือนกับการดูแลเสื้อชั้นใน และ พยายามทำให้หัวนมไม่อับชื้น โดยให้สัมผัสกับอากาศบ่อยๆระหว่างมื้อนม ถ้าหากหัวนมเปียกน้ำลาย หรือ น้ำนม ให้รอให้แห้งก่อนเก็บปิดเต้า ถ้าอยากรีบแห้ง ให้เป่าด้วยลมเย็น

คนที่เป็นเชื้อราที่ผิวหนังบ่อยๆ การกินจุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่างกาย อาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นบ่อยๆได้ เช่น bioflor 1 เม็ด เช้า/เย็น

การรักษาหัวนมแตก จากการดูดผิดท่า หรือ เป็นเชื้อรา ให้ใช้นมแม่ทาที่หัวนมบ่อยๆ แล้วฝึ่งให้แห้ง ก่อนใส่เสื้อชั้นไน แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้ทายาครีมที่มีส่วนผสมของยาต้านเชื้อรา ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย และ ยาสเตียรอยด์ (วิธีเตรียมยาครีมทาหัวนมที่ได้ผลดีมากๆ : 2% Mupirocin ointment + 15 grams Betamethasone 0.1 % ointment + 15 grams Miconazole powder)

6.ภาวะเส้นเลือดหดตัวแบบรุนแรงผิดปกติ (vasospasm) : อาจถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเย็นลง อาการ คือ ปวดแสบปวดร้อน เหมือนเข็มทิ่มแทงอย่างรุนแรง สีของหัวนมจะซีดลงอย่างรวดเร็วหลังลูกกินเสร็จ การใช้ยาขยายหลอดเลือด (nifedipine) ซึ่งปลอดภัยสำหรับการให้นมลูก จะช่วยลดอาการได้

7.ภาวะอื่นๆ : เช่น การตั้งครรภ์ จะทำให้คุณมีความรู้สึกไวที่หัวนมมากขึ้น ถ้าคุณยังรู้สึกเจ็บหัวนมต่อเนื่องหลังจากลูกดูดเสร็จแล้ว แนะนำให้ตรวจดูว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ผู้หญิงบางคนกลัวว่า อาการเจ็บที่หัวนมเกิดจากโรคมะเร็ง ความจริง คือ พบได้น้อยมากที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมาพบแพทย์ในระยะแรกด้วยอาหารเจ็บหัวนม ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องคลำได้ก้อนที่เต้านม หรือ เต้านมอักเสบ

อย่างไรก็ดี คุณแม่ควรพบแพทย์ หากอาการเจ็บหัวนมเป็นเพียงเต้าเดียว หรือ อาการเจ็บไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาเบื้องต้นในโพสต์นี้ค่ะ


ขอขอบคุณที่มา : เพจคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
เรียบเรียงโดย ทีมงานพัฒนาการเด็ก

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ
URL: www.พัฒนาการเด็ก.com/2018/09/BreastMilk.html
อ่านต่อ >>

วิธีการเลี้ยงลูกของสมเด็จย่าที่ทรงคุณค่าและควรนำมาเป็นแบบอย่าง

0 comments
คำสอนและวิธีการเลี้ยงลูกของสมเด็จย่าที่ทรงคุณค่าและควรนำมาเป็นแบบอย่างให้กับปวงชนชาวไทย

โรงเรียนทอสีได้มีจัดสัมนาเรื่อง“เลี้ยงลูกแบบสมเด็จย่า” โดยคุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา อดีตข้าหลวงในพระองค์มาร่วมเล่าประสบการณ์และแบ่งปันคำสอนของสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนีหรือสมเด็จย่าของปวงชนชาวไทยเมื่อฟังแล้วรู้สึกอยากจะบอกต่อ ถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกของพระองค์ ที่มีทั้งความปราดเปรื่องหลักแหลมและมีเป้าหมายที่ชัดเจนสมควรใช้เป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง  

ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น : คำพังเพยที่เราได้ยินบ่อยๆ แต่น้อยครั้งนักจะทำความเข้าใจอย่างจริงจังในขณะที่ตัวอย่างมีให้เห็นทั้งในทางที่ดีและทางที่ไม่ดีในเรื่องของการเลี้ยงดูบุตร สมเด็จย่าทรงเริ่มจากการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ทำเป็นต้นแบบในเรื่องของการมีวินัย การรักการค้นคว้าศึกษาหาความรู้ การประพฤติตัวที่ถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม ทั้งหมดนี้คือการตั้งตนเป็นต้นแบบให้กับลูกเพราะเด็กเล็กจะมีพฤติกรรมเลียนแบบจากคนใกล้ชิดเพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องลองตั้งคำถามกลับมาที่ตัวเองว่าทุกวันนี้ที่เราอยากให้ลูกเป็นแบบนั้นแบบนี้แล้วเราล่ะเป็นแล้วหรือยัง

ตั้งเป้าหมายในการเลี้ยงลูก: สมเด็จย่าทรงเป็นพระมารดาที่มีเป้าหมายในการเลี้ยงลูกอย่างชัดเจนคือทรงตั้งใจอบรมพัฒนาลูกๆ ให้ดีในทุกๆ ด้านเพื่อให้เป็นบุคคลที่ทำประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมือง ทรงไม่คิดถึงประโยชน์ของพระองค์เอง ประโยชน์ของพระโอรส หรือพระธิดา แต่ทรงมองถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ในปัจจุบันหลายครั้งที่เราเห็นพ่อแม่ส่งลูกเรียนพิเศษในทุกวิชาโดยที่ไม่ได้ถามลูกว่าลูกอยากเรียนอะไร หรือพ่อแม่ที่คาดหวังเรื่องผลการเรียนสูงๆ จากลูกเหล่านั้นคือการตั้งเป้าหมายกับลูกซึ่งเป็นการเอาความคาดหวังของตัวเองไปให้กับลูก เราจึงต้องมองย้อนกลับมาดูใหม่ว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้หรือความคาดหวังนั้นเป็นไปเพื่อใคร เพื่อลูก เพื่อตัวเราเอง หรือเพื่อคนอื่นๆ ด้วย ถ้าพ่อแม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเลี้ยงลูกก็จะทำให้เราสามารถพัฒนาประสิทธิภาพของเด็กๆ ได้สูงยิ่งขึ้น

จัดแบบแผนและสร้างระเบียบวินัยตั้งแต่ลูกยังเล็ก: สมเด็จย่าทรงวางแผนการดำเนินชีวิตให้กับพระโอรสพระธิดาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เนื่องจากต้องทรงเป็นทั้ง “พ่อ” และ “แม่” ในเวลาเดียวกันทรงจัดการทุกอย่างเป็นเวลา โดยมีผู้ช่วยคือพระพี่เลี้ยงเพียงหนึ่งคนเท่านั้นเนื่องจากในเวลาที่เด็กยังเล็กเขาไม่มีความรู้เรื่องขอบเขตของเวลา พ่อแม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดเวลาให้กับพวกเขาเช่นนอน รับประทานอาหาร เล่น ไปโรงเรียน อาบน้ำ ออกกำลังกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะสร้างวินัยให้กับลูกซึ่งสมเด็จย่าทรงเน้นเรื่องวินัยในการดำเนินชีวิตพระองค์รับสั่งถึงคำว่า “ระเบียบวินัยอย่างมีหลักการ” คือการกำหนดขอบเขตของเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับชีวิตซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเติบโตของเด็กๆ ต่อไป

เล่นอย่างถูกวิธี : เมื่อถึงเวลาเล่นจะทรงปล่อยให้พระโอรสและพระธิดาเล่นอย่างอิสระ โดยจะทรงให้เล่นกับธรรมชาติ ต้นไม้ น้ำทรงเน้นให้เล่นกับสิ่งที่มีในธรรมชาติมากกว่าของเล่น ทรงอนุญาตให้พระโอรสเล่นจุดไฟแต่จะทรงบอกวิธีในการเล่นที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย ผลจากการที่พระโอรสและพระธิดาได้ทรงเล่นคลุกดินคลุกทรายหรือได้ทำการทดลองกับธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ทั้งสามพระองค์ได้พัฒนาความคิดและความสามารถโดยที่ไม่ทรงรู้ตัว ตัวอย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างหลุมที่เกิดจากการปลูกต้นไม้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ทดลองขุดดิน ใส่น้ำ ปลูกต้นไม้ จะสามารถสร้างแอ่งน้ำขึ้นมาได้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งนั่นเป็นรากฐานที่ดีงามที่พระองค์นำมาใช้พัฒนาประเทศชาติจนถึงทุกวันนี้ การเล่นอย่างถูกวิธีจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะการเล่นกับธรรมชาติที่เด็กๆ ชาวเมืองยุคใหม่อาจจะขาดไป คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดเวลาเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกในส่วนนี้เช่นกัน

ประหยัดอดออมไม่ฟุ่มเฟือย : สมเด็จย่าทรงสอนพระโอรสพระธิดาให้รู้จักใช้เงินของขวัญ ที่ทั้งสามพระองค์จะได้มีวันเดียวคือวันคล้ายวันประสูติ ถ้าพระองค์ใดอยากได้สิ่งใดนอกจากนั้น ต้องทรงเก็บเงินเพื่อซื้อหรือทรงได้รับอนุญาตให้หุ้นกันเพื่อซื้อมาได้หรือจะทรงซื้อให้ก็ต่อเมื่อต้องใช้ประโยชน์ เช่นแผ่นเสียงถ้าเป็นเพลงโปรดของแต่ละพระองค์จะทรงให้เก็บสตางค์ซื้อเอง แต่ถ้าเป็นเพื่อการศึกษา เช่นเพลงคลาสสิคจะทรงซื้อให้

เรียนไปพร้อมๆกับลูก : สมเด็จย่าจะไม่เคยเน้นเรื่องคะแนนของพระโอรสและพระธิดาแต่ทรง “ช่วย” ในทุกขั้นตอนของการเรียนไม่ว่าจะช่วยทำการบ้าน ช่วยศึกษาค้นคว้า จะทรงใช้วิธีทำให้ลูกดูเพื่อให้ลูกได้ทำตาม เช่นถ้าไม่ทรงทราบเรื่องไหนจะต้องไปค้นคว้าจาก Encyclopedia หรือมีครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลต้องทรงท่องกลอนเป็นภาษาเยอรมันแต่ไม่ทรงโปรดที่จะท่อง สมเด็จย่าทรงไม่เคยเรียนภาษาเยอรมันมาก่อนได้เสด็จไปหาคุณครูเพื่อเรียนท่องคำกลอนนั้นจนคล่องและนำมาท่องให้พระโอรสฟัง ทำให้พระโอรสรู้สึกประหลาดใจที่เห็นพระชนนีท่องได้ และเป็นแรงบันดาลใจให้ทรงหันมาเริ่มท่องกลอนนั้น การสอนของสมเด็จย่าจึงเน้นที่กระบวนการหรือวิธีการมากกว่าคำตอบ ทำให้พระองค์รวมถึงพระโอรสพระธิดาทั้งสามพระองค์เป็นผู้ที่ทรงรู้อะไรรู้ลึกและรู้จริงในทุกๆ เรื่องที่ทรงค้นคว้า

เน้นการพัฒนา EQ มากกว่า IQ: ทรงสอนให้ลูกพระโอรสพระธิดารู้จักความรับผิดชอบ นั่นคือมาตรฐานในการใช้ชีวิตที่ทรงอบรม เวลาพระโอรสพระธิดาทรงทำผิดจะทรงเรียกมาอธิบายเหตุผลให้เข้าใจเสียก่อน ทรงเน้นในเรื่องการทำตัวเป็นคนดีซื่อสัตย์มีระเบียบวินัยและแข็งแรง โดยทักษะเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการเผชิญกับโลกเมื่อลูกโตขึ้น ทรงมีหลักในการพัฒนาพระโอรสพระธิดาเช่นต้องมีจริยธรรมซื่อตรง ที่สำคัญคือทรงเน้นเรื่องการพัฒนาจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน โดยทรงตรัสไว้ว่าในโลกนี้ไม่มีใครดี 100% ต้องหาจุดอ่อนและจุดแข็งของลูกให้เจอเพื่อพัฒนาในส่วนนั้นได้ตรงจุดนั่นเอง

นอกจากนี้ยังทรงเน้นในอีกหลายเรื่องเช่น ต้องเสวยให้หมดจาน ห้ามทิ้งอาหาร หรือช่วยให้ลูกได้ช่วยเหลือตัวเองได้ คำสอนของพระองค์ทรงเป็น Practical Wisdom คือทำตามได้อย่างง่ายดาย เหล่านี้เป็นสิ่งเล็กๆ ที่เราอาจจะลืมเพราะไปโฟกัสในสิ่งอื่นๆ ในชีวิต วิธีการเลี้ยงลูกของสมเด็จย่าเป็นวิธีที่พ่อแม่ทุกคนสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างง่ายดายและแน่นอนว่ามีประสิทธิภาพโดยสามารถดูได้จากพระโอรสและพระธิดาทั้งสามพระองค์ที่เติบโตมาเป็นบุคคลทรงคุณภาพที่สุดสามพระองค์เท่าที่ประวัติศาสตร์ชาติไทยเคยมีมา

"เป้าหมายที่เราตั้งไว้หรือความคาดหวังนั้นเป็นไปเพื่อใคร เพื่อลูก เพื่อตัวเราเอง หรือเพื่อคนอื่นๆ ด้วย"


ขอขอบคุณที่มา : Custard Magazine

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ

URL: http://happybabiesandkids.blogspot.com/2016/10/King.html
อ่านต่อ >>

10 เป้าหมายสร้างทักษะชีวิตให้ลูกช่วงปิดเทอม

1 comments
10 เป้าหมายสร้างทักษะชีวิตให้ลูกช่วงปิดเทอม
โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน



      ช่วงปิดเทอมมักเจอคำถามจากเพื่อนพ่อแม่ว่าให้ลูกทำกิจกรรมอะไรดี มีกิจกรรมหรือค่ายดีๆ ที่ไหนช่วยแนะนำด้วย ดิฉันก็ตอบกลับไปว่าไม่รู้หรอกค่ะ จะมีก็แต่กิจกรรมที่มีคนฝากประชาสัมพันธ์ หรือที่รู้ว่ามีใครจัดกิจกรรมอะไรที่ไหนก็ผ่านการประชาสัมพันธ์จากสื่อต่างๆ นี่แหละค่ะ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีมากมายเหลือเกิน ยิ่งมีสื่อออนไลน์ด้วยแล้ว การกระจายตามสื่อก็เกลื่อนสังคมออนไลน์ตามไปด้วย ซึ่งนั่นก็หมายความว่ามีตัวเลือกให้พ่อแม่เลือกจำนวนมาก จนไม่รู้ว่าจะเลือกที่ไหนดี หรือก็คือไม่รู้ว่าที่ไหนดี
     
       ความจริงกิจกรรมช่วงปิดเทอมก็ไม่จำเป็นต้องคิดถึงกิจกรรมไกลตัวหรือกิจกรรมนอกบ้านอย่างเดียว แต่น่าจะใช้ช่วงปิดเทอมในการวางเป้าหมายชีวิตว่าอยากจะให้ลูกทำอะไร แล้วได้อะไร หรือใช้ช่วงปิดเทอมในการปรับพฤติกรรมบางประการก็สามารถทำได้เหมือนกัน
     
       ลองมาตั้งเป้าหมายสร้างทักษะชีวิตให้ลูกช่วงปิดเทอมกันค่ะ
     
       เป้าหมายที่หนึ่ง ให้ลูกช่วยเหลือตัวเองให้ได้ 
     
       ยิ่งถ้าคุณเป็นพ่อแม่ที่ปกติแล้วชอบจัดการให้ลูกหมดทุกสิ่งอย่าง ลองตั้งเป้าหมายดูว่าปิดเทอมนี้จะทำให้ลูกช่วยเหลือตัวเองให้ได้ พ่อแม่อาจลองมอบหมายความรับผิดชอบหรือหน้าที่ที่ชัดเจน เริ่มจากกิจวัตรประจำวันนี่แหละค่ะ ยกตัวอย่าง ตื่นนอนต้องเก็บที่นอนเอง ซึ่งตอนที่เปิดเทอมทุกอย่างอาจรีบเร่งไปหมด พ่อแม่จึงทำให้ลูกทุกอย่างเพราะกลัวลูกไปโรงเรียนไม่ทัน ก็ลองปรับพฤติกรรมให้เขาทำเอง และฝึกให้ทำเร็วขึ้น หรืออาจมอบหมายงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น งานบ้าน ที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเอง เพื่อกระตุ้นให้เขาฝึกรับผิดชอบตัวเอง
     
       เป้าหมายที่สอง ว่ายน้ำเป็น
     
       ทุกช่วงปิดเทอมเรามักจะได้ยินข่าวร้ายๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุเด็กจมน้ำเสียชีวิตเป็นประจำ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุสูงที่สุดในบรรดาอุบัติเหตุทั้งหมด โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ลองตั้งเป้าหมายให้ลูกไปเรียนว่ายน้ำอย่างถูกวิธี และสามารถว่ายน้ำได้ก่อนเปิดเทอม รวมไปถึงทักษะเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และหากพบเห็นคนตกน้ำควรจะต้องทำอย่างไร เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญมาก เพราะประเทศเรามีแหล่งน้ำจำนวนมาก เด็กไทยควรว่ายน้ำเป็นทุกคน
     
       เป้าหมายที่สาม ทำกับข้าว
     
       ไม่ต้องถึงขนาดไปเรียนในโรงเรียนสอนทำอาหารหรอกค่ะ ถ้าบ้านไหนคุณแม่ทำกับข้าวเป็น ก็ชวนลูกเข้าครัว และถือโอกาสสอนให้ลูกทำกับข้าวด้วยซะเลย อาจตั้งเป้าว่าปิดเทอมจะทำเป็นกี่เมนู เริ่มจากเมนูง่ายๆ เมนูโปรดของลูกก็ได้ ให้เขาเริ่มจากเป็นผู้ช่วยแล้วก็ค่อยๆ ขยับให้เขาลองปรุงอาหารเองด้วย เขาจะตื่นเต้นสนุกสนานและเกิดความภาคภูมิใจอย่างมาก แต่ต้องดูวัยของลูกด้วยว่าควรเลือกทำเมนูอะไรดี
     
       เป้าหมายที่สี่ ชวนลูกปลูกต้นไม้
     
       ลูกๆ อาจรู้จักต้นไม้ แต่อาจจะไม่เคยปลูกต้นไม้มาก่อน ลองให้เขาหัดปลูกต้นไม้ และดูแลรดน้ำหรือพรวนดินต้นไม้ เป็นการสอนเรื่องชีวิตไปในตัวด้วย ถ้าเราดูแลต้นไม้เป็นอย่างดีก็จะเจริญเติบโตออกดอกออกผล เหมือนชีวิตคนเราก็ต้องดูแลให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งการปลูกต้นไม้ยังทำให้เกิดการต่อยอดเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์อีกด้วย


        เป้าหมายที่ห้า อ่านหนังสือดีๆ
     
       พยายามหาหนังสือดีๆ ที่เหมาะกับวัยของลูก และกำหนดให้เขาอ่านให้จบ จะกี่เล่มก็ตาม เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์และจินตนาการของลูก อาจกำหนดเป็นช่วงเวลาก่อนนอนวันละ 1 ชั่วโมงก็ได้ เมื่ออ่านจบแล้วก็อาจชวนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือ เพื่อกระตุ้นให้ลูกฝึกคิดวิเคราะห์ได้ด้วย ที่สำคัญอย่ากำหนดเป็นหนังสือเรียนเท่านั้นนะคะ
     
       เป้าหมายที่หก ฝึกจัดข้าวของของตัวเองให้เข้าที่
     
       อาจเริ่มจากจัดห้องนอน หรือมุมโปรดของตัวเองที่รกหรือมีฝุ่นเกาะเต็มไปหมด ก็ถือโอกาสชวนลูกรื้อห้องนอน ห้องนั่งเล่นหรือมุมโปรดของเขา ให้เขาได้มีส่วนร่วมในการทำความสะอาด และจัดสิ่งของให้เป็นระเบียบ เป็นการสอนให้เขาได้เรียนรู้ด้วยว่าเมื่อข้าวของเป็นระเบียบ ก็ทำให้เราสะดวกในการหาสิ่งของเครื่องใช้
     
       เป้าหมายที่เจ็ด ออกกำลังกาย
     
       หรือเล่นกีฬาเพิ่มเติมจากสิ่งที่ไม่ได้เรียนในชั้นเรียน พยายามให้ลูกได้รู้จักกีฬาอื่นๆ ที่นอกเหนือจากชั้นเรียน อย่างน้อยหนึ่งชนิดกีฬาก่อนเปิดเทอม และหาโอกาสพาลูกไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
     
       เป้าหมายที่แปด ชวนไปสวนสาธารณะหรือแหล่งการเรียนรู้ใกล้บ้าน
     
       ที่เน้นว่าใกล้บ้าน เพราะต้องการชวนให้ลูกเรียนรู้ว่าแหล่งการเรียนรู้มีอยู่รอบตัว สามารถทำกิจกรรมง่ายๆ โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ชี้แนะว่ากิจกรรมที่ทำนั้นได้อะไร
     
       เป้าหมายที่เก้า เก็บหนังสือของชั้นปีที่แล้วที่ไม่ได้ใช้ และเตรียมสำหรับชั้นปีต่อไป 
     
       เป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้ว่าหนังสือที่เรียนจบชั้นหนึ่งก็ต้องแยกออกมา และเตรียมสำหรับของชั้นเรียนใหม่ ถ้ามีหนังสือใหม่แล้ว ก็อาจชวนลูกดูว่าเมื่อเปิดเทอมลูกจะต้องเรียนอะไรบ้าง เพื่อให้เขาเตรียมตัวและรับรู้ว่าแต่ละวิชาจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
     
       เป้าหมายที่สิบ สำรวจว่าอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในเปิดเทอมใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง
     
       ให้จดเอาไว้เลย เพราะอาจลืมได้ เป็นการสอนให้ลูกรู้จักการวางแผนด้วย เช่น สำรวจดูว่าอุปกรณ์การเรียนขาดอะไรไหม หรือเสื้อผ้าชุดนักเรียนชำรุดหรือไม่ กระดุมขาด ซิปแตกหรือเปล่า หรือรองเท้าขาด ใส่ไม่ได้หรือไม่ จากนั้นก็วางแผนว่าแล้วจะแก้ไขอย่างไร บางอย่างซ่อมได้ บางอย่างต้องซื้อใหม่ไหม
       
       ทั้งหมดนี้เป็นทักษะชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินเสียทองในการไปเรียนที่ไหน ถ้าพ่อแม่มองเห็นและเป็นครูฝึกลูกรักของเราเองค่ะ


ขอขอบคุณที่มา : MGR Online
เรียบเรียงโดย ทีมงานพัฒนาการเด็ก

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ
URL: http://happybabiesandkids.blogspot.com/2016/02/summer.html
อ่านต่อ >>

หนังสือนมแม่ แจกฟรี สำหรับทุกครอบครัว

1 comments
ให้ลูกกินนมกระป๋อง แน่ใจหรือ?


คำอธิบาย   :  สิ่งที่พ่อแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับนมผงดัดแปลงสำหรับทารก
จัดทำโดย   :  www.breastfeedigthai.com
จำนวนหน้า :  72

Download หนังสือได้ฟรี โดยคลิกที่นี่ Free Download 2.7 MB

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจไม่ใช่ทางเลือกของคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน แต่...เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกคน


แบ่งปันโดย ทีมงานพัฒนาการเด็ก

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ
URL: http://happybabiesandkids.blogspot.com/2016/01/nommae.html

อ่านต่อ >>

น้ำหนักตัวเพิ่มช้าลงหลังจาก 2-3 เดือนแรก

0 comments

บางครั้งทารกที่ดูดนมจากอกแม่เพียงอย่างเดียวและน้ำหนักเพิ่มได้ดีในช่วงเดือนแรกๆ เริ่มจะน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่มากหลังจาก 2-4 เดือน นี่อาจเป็นเรื่องปกติ เพราะทารกที่กินนมแม่จะไม่โตตามกราฟแสดงการเจริญเติบโตของเด็กกินนมผสม มันอาจดูเหมือนทารกที่กินนมแม่โตช้าเกินไป แต่ความเป็นจริงคือ ทารกที่กินนมผสมโตเร็วเกินไปต่างหาก

การให้ลูกดูดนมจากอกแม่ คือวิธีให้อาหารแก่ทารกและเด็กอ่อนซึ่งเป็นวิธีปกติ เป็นไปตามธรรมชาติและความเหมาะสมทางกายภาพ การใช้ทารกที่กินนมผสมเป็นแม่แบบของความปกติเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล และจะยังนำไปสู่ความเข้าใจผิดในการแนะนำคุณแม่เกี่ยวกับการให้อาหารและการเจริญเติบโตของทารกอีกด้วย

ในบางกรณี ความเจ็บป่วยอาจจะทำให้ทารกน้ำหนักเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ควรจะเป็น แต่การให้ทารกกินนมผสมเพิ่มเติมจากการให้กินนมแม่ไม่ได้ช่วยให้เขาหายป่วย และทารกอาจจะสูญเสียข้อดีทั้งหลายที่จะได้จากการดูดนมจากอกแม่เพียงอย่างเดียวอีกด้วย คุณแม่ควรจะดูออกว่าทารกได้รับนมเพียงพอหรือไม่ (ดูข้างล่าง) ถ้าทารกได้รับนมไม่พอ ส่วนใหญ่ไม่ใช่เพราะเขาไม่สบาย แต่มักจะเกิดจากนมแม่มีปริมาณลดลง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เวลาที่ทารกน้ำหนักตัวเพิ่มช้ามากจนผิดปกติหลังจาก 2-3 สัปดาห์หรือ 2-3 เดือนแรก คือ น้ำนมแม่มีปริมาณลดลง

ทำไมน้ำนมจึงมีปริมาณลดลงได้

1. คุณแม่อาจอยู่ระหว่างกินยาคุมกำเนิด ถ้าคุณแม่กินยาคุมกำเนิด ให้หยุดกิน นอกเหนือจากการกินยาคุมกำเนิด ยังมีวิธีการอื่นที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้

2. คุณแม่กำลังตั้งครรภ์

3. คุณแม่พยายามยืดช่วงเวลาระหว่างการให้นมแต่ละครั้งให้ห่างออกไป หรือพยายามจะ “หัด” ลูกให้นอนหลับตลอดคืน ถ้านี่เป็นสาเหตุ คุณแม่ควรให้ทารกกินนมเมื่อเขาหิว หรือเมื่อเขาเริ่มดูดนิ้วมือตัวเอง

4. คุณแม่ใช้ขวดนมบ่อยขึ้น แม้กระทั่งตอนที่ยังมีน้ำนมมากอยู่ การใช้ขวดบ่อยๆ ก็จะทำให้ทารกไม่งับหัวนมให้สนิทดีเวลาที่เขาคาดหวังว่าน้ำนมจะไหลเร็ว ถึงแม้คุณแม่จะให้กินนมขวดที่ใส่นมแม่เพียงอย่างเดียวก็ตาม เมื่อน้ำนมไหลช้าลงทารกจะผละออกจากอกแม่ ทำให้เขาใช้เวลาอยู่ที่อกแม่น้อยลง และปริมาณน้ำนมก็จะยิ่งลดลงไปอีก

5. บางครั้งอาการ “ช็อค” ทางอารมณ์ ก็จะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้เหมือนกัน

6. บางครั้งการป่วยก็อาจทำให้น้ำนมลดลง โดยเฉพาะโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้ รวมทั้งโรคติดเชื้อที่หัวนม แต่โชคดีที่การเจ็บป่วยที่เกิดกับคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะไม่ทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง

7. คุณแม่อาจจะทำงานมากเกินไป คุณไม่จำเป็นต้องเป็นยอดคุณแม่ ให้คนอื่นช่วยทำงานบ้าน พยายามนอนหลับพักผ่อนเวลาที่ลูกหลับ และให้ทารกดูดนมตอนที่คุณแม่หลับ

8. ยาบางชนิดอาจทำให้น้ำนมลดลง เช่น ยาแก้แพ้บางชนิด (เช่น เบ็นดรีล) ยาลดน้ำมูกบางชนิด (เช่น ซูดาเฟ็ด)

9. คุณแม่ให้ทารกกินนมแค่ข้างเดียวในการกินนมแต่ละครั้ง เพราะอยากให้ทารกได้รับนมส่วนหลัง (hindmilk) ซึ่งมีไขมันสูง แต่อย่าลืมว่าถ้าทารกดูดนมไม่ถูกวิธี เขาก็จะไม่ได้กินนมเลย และถ้าเขาไม่ได้นมเลย เขาก็จะไม่มีทางได้นมส่วนหลังเช่นกัน ควรให้ทารกกินนมให้หมดข้างหนึ่งก่อน และถ้าเขายังต้องการกินต่อก็ควรให้เขากินอีกข้างหนึ่งต่อด้วย

10. อาจเกิดจากหลายสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นร่วมกัน

11. บางครั้งน้ำนมจะลดลงโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน (โดยเฉพาะช่วงประมาณ 3 เดือน) แต่โดยทั่วไปแล้วคุณจะน่าจะสามารถหาสาเหตุได้จากย่อหน้าถัดไป

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำนมลดปริมาณลง ต้องมีคำขยายความเพิ่มเติม ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ทารกมักจะผล็อยหลับเวลาที่น้ำนมไหลช้าลง (การที่น้ำนมไหลช้ามักจะเกิดเร็วขึ้นถ้าทารกไม่สามารถงับหัวนมได้สนิทดี เพราะทารกจะได้กินน้ำนมจากกลไกการหลั่งน้ำนม หรือการที่น้ำนมพุ่งออกมาเองเท่านั้น : Milk Ejection Reflex หรือ Let down reflex) ทารกจะดูดนมสลับกับนอนหลับ โดยไม่ได้รับน้ำนมเยอะๆ ในช่วงนี้ แต่คุณแม่อาจจะยังมีกลไกการหลั่งน้ำนม (หรือการที่น้ำนมพุ่งออกมาเอง) เป็นครั้งคราว ซึ่งจะทำให้ทารกได้กินนมมากขึ้น ตอนที่คุณแม่มีน้ำนมมาก น้ำหนักตัวของทารกจะเพิ่มขึ้นตามปกติ แต่เขามักจะใช้เวลาอยู่ที่อกแม่นานทั้งๆ ที่คุณแม่มีน้ำนมมาก

แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 6-8 สัปดาห์หรือน้อยกว่านั้น  ทารกหลายๆ คนก็เริ่มจะผละออกจากอกแม่เวลาที่น้ำนมไหลช้าลง โดยมากหลังจากเริ่มกินนมได้ไม่กี่นาที ลักษณะเช่นนี้มักจะเกิดในทารกที่เริ่มกินนมจากขวดตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ก็อาจเกิดในทารกที่ไม่ได้กินนมจากขวดเลยได้ด้วยเช่นกัน ส่วนมากคุณแม่ก็มักจะเปลี่ยนให้ทารกไปดูดนมจากอกอีกข้างหนึ่ง แต่ทารกก็จะผละจากอกแม่อีกเหมือนเดิม เขาอาจจะยังรู้สึกหิวอยู่ แต่ก็จะไม่ยอมกินนมจากเต้านมและดูดนิ้วมือตัวเองแทน แล้วเขาก็จะไม่ได้น้ำนมที่หลั่งออกมาเองซึ่งเขาควรจะได้กินถ้าเขายังคงอยู่ที่หน้าอกแม่ด้วย

ดังนั้นทารกจะกินนมได้น้อยลง และปริมาณน้ำนมของคุณแม่ก็จะลดลงเพราะทารกดูดน้อยลง แล้วน้ำนมก็จะไหลช้าลงแม้แต่ในช่วงแรกของการกินนม (เพราะมีน้ำนมอยู่น้อย) นี่คงพอจะทำให้คุณแม่เข้าใจได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่บางทีสิ่งที่เกิดขึ้นก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบที่ว่านี้เสมอไป ทารกหลายคนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ดีทั้งที่ใช้เวลาอยู่ที่หน้าอกแม่ไม่นาน พวกเขาอาจจะผละออกจากอกแม่และดูดนิ้วตัวเองเพราะเขายังอยากดูดอยู่ แต่ถ้าน้ำหนักตัวของเขาเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล

วิธีป้องกันในกรณีสุดท้ายนี้ คือ ทำให้ทารกงับหัวนมได้สนิทดีตั้งแต่ครั้งแรกๆ ที่ให้เขากินนม แต่บางทีคุณแม่หลายๆ คนก็ได้รับการบอกเล่าว่าทารกงับหัวนมได้สนิทดี ทั้งที่ไม่ใช่ การงับหัวนมให้สนิทดีขึ้นช่วยแก้ปัญหาได้ แม้กระทั่งหลังจากเวลาผ่านไปนานแล้ว นอกจากนี้การบีบหน้าอกมักจะทำให้ทารกยังคงได้กินนมต่อไป

บางครั้งยาดอมเพอริโดนจะทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ห้ามใช้ยานี้ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าทารกได้กินนมเวลาที่เขาอยู่ที่อกแม่

ในขณะที่เด็กทารกกินนมได้ (ไม่ใช่แค่เพราะเขามีเต้านมอยู่ในปากและทำท่าดูด) คุณจะต้องเห็นว่าหลังจากที่เขาอ้าปากและดูดนมได้ปริมาณมากพอ จะต้องมีการหยุดเคลื่อนไหวตรงปลายคางก่อนที่เขาจะปิดปาก ดังนั้นการดูดนม 1 ครั้ง คือ อ้าปากกว้าง --> หยุด --> ปิดปาก ถ้าคุณต้องการจะสาธิตการดูดแบบนี้ด้วยตัวเอง ให้ลองเอานิ้วชี้ใส่ปากตัวเอง และดูดนิ้วเหมือนกับดูดน้ำจากหลอดกาแฟ ขณะที่คุณดูดเข้าไป คางของคุณจะลดต่ำลงและค้างอยู่ในตำแหน่งนั้นไปเรื่อยๆ เมื่อคุณหยุดดูด คางของคุณจะกลับมาที่ตำแหน่งเดิม ถ้าคุณสังเกตเห็นการหยุดเคลื่อนไหวแบบนี้ที่บริเวณคางของลูก นั่นหมายความว่า ลูกของคุณดูดนมได้จนเต็มปากของเขาในการดูดแต่ละครั้ง

ยิ่งมีการหยุดเคลื่อนไหวนานเท่าไร ทารกก็ยิ่งดูดนมได้มากเท่านั้น เมื่อคุณเข้าใจการดูดนมที่มีการหยุดเคลื่อนไหวของคางแบบที่ว่านี้แล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับคำแนะนำไร้สาระต่างๆ ที่บอกต่อๆ กันมาเกี่ยวกับการให้ลูกกินนมแม่  เช่น ต้องให้ลูกดูดนมจากเต้านมข้างละ 20 นาที ทารกที่ดูดนมในลักษณะนี้ (มีการหยุดเคลื่อนไหวคาง) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 20 นาที อาจจะไม่ยอมดูดนมอีกข้างหนึ่งเลยด้วยซ้ำ ในขณะที่เด็กทารกที่อมหรือตอดหัวนมอยู่ 20 ชั่วโมง (โดยไม่ได้กินนม) ก็จะยังรู้สึกหิวอยู่หลังจากแม่ให้นมเสร็จแล้ว

คุณสามารถดูท่าให้นมลูกแสดงการงับหัวนมอย่างถูกวิธี วิธีดูว่าทารกได้กินนมหรือไม่ และวิธีการบีบหน้าอกช่วยลูกดูดนม

แผ่นพับที่ 25 - น้ำหนักตัวเพิ่มช้าลงหลังจาก 2-3 เดือนแรก (ตุลาคม 2549)
แปลและเรียบเรียงโดย นิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์
จาก Handout #25: Slow Weight Gain After the First Few Months. January 2005
Written by Jack Newman, MD, FRCPC. © 2005

ขอขอบคุณที่มา : breastfeedingthai.com
เรียบเรียงโดย ทีมงานพัฒนาการเด็ก

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ
URL: www.พัฒนาการเด็ก.com/2016/01/weight.html
อ่านต่อ >>

รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว

0 comments
แนะนำหนังสือน่าอ่านสำหรับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว
เขียนโดย  มาซารุ อิบุกะ  แปลโดย  ธีระ สุมิตร และ พรอนงค์ นิยมค้า


ตอนที่ 1  
ศักยภาพของเด็กเล็ก
1.  รอให้เข้าโรงเรียนอนุบาลก่อนก็สายเสียแล้ว
2.  ไม่ว่าเด็กคนไหนก็เลี้ยงให้ดีได้
3.  การศึกษาในวัยเด็กเล็ก  ไม่ใช่การผลิตอัจฉริยบุคคล
4.  เด็กแรกเกิดนั้นอ่อนแอ แต่มี "ศักยภาพ"  มหาศาล
5.  เส้นสายของเซลล์สมองก่อรูปภายใน 3 ขวบ
6.  การศึกษาในปัจจุบัน“เข้มงวด” และ”ปล่อยอิสระ”อย่างผิดเวลา
7.  “ความยาก – ความง่าย” ในความคิดของผู้ใหญ่ใช้กับเด็กไม่ได้
8.  เด็กจำอักษรยากๆ  ได้ง่ายกว่าอักษรง่ายๆ
9.  สำหรับเด็กเล็ก  พีชคณิตง่ายกว่าเลขคณิต
10.  เด็กอายุ  3  เดือนก็ชอบเพลงคลาสสิก
11.  เด็กอ่อนอายุ 6 เดือนก็ว่ายน้ำเป็น
12.  สมองของเด็กวัยก่อน 3  ขวบนั้น เราจะยัดเยียดอะไรให้มากแค่ไหนก็รับได้
13.  เด็กเล็กจดจำทุกสิ่งที่ตนสนใจ
14.  มีหลายสิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ในวัยเด็กเล็ก
15.  เด็กหูพิการ  ถ้าได้รับการสอนในระยะปฐมวัยอาจได้ยินเสียง

ตอนที่ 2  
สภาวะเป็นจริงของการเรียนรู้ ในระยะปฐมวัย
16.  การศึกษาและสภาพแวดล้อมเหนือกว่ากรรมพันธุ์
17.  ลูกนักวิชาการก็ไม่แน่ว่าจะเหมาะที่จะเป็นนักวิชาการ
18.  ลูกของคนถ้าเติบโตในหมู่สัตว์ ก็จะกลายเป็นสัตว์
19.  เด็กทารกเมื่อวาน ต่างกับวันนี้ลิบลับ
20.  วัยเด็กเล็กนี่แหละที่  "แตะชาดย่อมแดง"
21.  ห้องที่ว่างเปล่ามีผลร้ายกับเด็ก
22.  เด็กเล็กได้รับอิทธิพลอย่างนึกไม่ถึง
23.  เด็กเล็กซึมซับเรื่องราวต่างๆในหนังสือนิทาน
24.  การให้คนอื่นเลี้ยงลูกเป็นการเสี่ยงที่สุด

25.  ประสบการณ์ในระยะปฐมวัยเป็นพื้นฐานของการคิดอ่าน

ตอนที่ 3  
สิ่งดีสำหรับเด็กเล็ก  คืออะไรบ้าง
26. การศึกษาของเด็กเล็กไม่มีสูตรตายตัว
27. นิสัย อุ้มติดมือ  ควรให้ติดเป็นอย่างยิ่ง
28. ลูกนอนกับพ่อแม่เป็นสิ่งดีที่ควรปฏิบัติ
29. แม่ที่ร้องเพลงเสียงหลงทำให้ลูกร้องเพลงเสียงหลงด้วย
30. ทุกครั้งที่เด็กร้องต้องขานตอบ
31. ไม่จำเป็นต้องพูดภาษาเด็กกับลูก
32. การไม่เอาใจใส่ลูกนั้นเลวร้ายยิ่ง
33. ความกลัวของเด็กเกิดจากประสบการณ์
34. เด็กแรกเกิดก็รู้ว่าพ่อแม่ทะเลาะกัน
35. "โรคขี้กังวล" ของแม่แพร่ไปติดลูกได้
36. พ่อควรสัมพันธ์กับลูกให้มากขึ้น
37. ยิ่งมีพี่น้องมากยิ่งดี
38. ปู่ย่าตายายเป็นเครื่องกระตุ้นที่ดีของเด็ก
39. ควรส่งเสริมให้เด็กได้เล่นด้วยกัน
40. การทะเลาะกันช่วยให้เด็กรู้จักเข้าสังคม
41. เด็กทารกจำหน้าคนได้
42. ไม้เรียวนั้น  ต้องใช้ในวัยที่เด็กยังไม่เข้าใจไม้เรียว
43. ความโกรธ และความริษยา  เป็นการแสดงความไม่พอใจของเด็ก
44. อย่าเอ่ยถึงข้อบกพร่องของเด็กต่อหน้าคนอื่น

45. ชมเด็กดีกว่าดุเด็ก

ตอนที่ 4  
หลักในการฝึกเด็ก
46. ความสนใจคือยากระตุ้นที่ดีที่สุด
47. เด็กมักสนใจสิ่งที่เป็นจังหวะ
48. เด็กจะมองสิ่งที่เขาสนใจว่าเป็นสิ่งดี
49. ความสนใจของเด็กต้องต่อเนื่องจึงจะมีผล
50. "การทำซ้ำซาก"  คือการกระตุ้นความสนใจของเด็กที่ดีที่สุด
51. จินตนาการของเด็ก คือจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
52. สำหรับเด็กเล็กควรสอนให้มี  "ปรีชาญาณ"
53. การสอนเด็กเล็กไม่ควรแบ่งเพศ
54. อย่าโกหกเด็กเล็กเกี่ยวกับเรื่องเพศ
55. เด็กเลือกกินเพราะไม่ชินกับรสชาติ
56. เด็กรู้จักเวลา  ถ้ามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีระเบียบ
57. รายการข่าวมีประโยชน์ในการสอนภาษาที่ถูกต้อง
58. โฆษณาโทรทัศน์ควรให้เด็กดู
59. เวลาสอนดนตรีควรสอนเสียงประสานควบไปด้วย
60. การเรียนไวโอลินช่วยพัฒนาสมาธิ
61. การเรียนไวโอลินช่วยพัฒนาการเป็นผู้นำ
62. การเรียนดนตรีของเด็ก ส่งผลให้หน้าตาของเด็กเปลี่ยนไปด้วย
63. การท่องกลอนช่วยฝึกความจำของเด็ก
64. วัยเด็กเล็กนี่แหละที่ควรให้เด็กได้ดูของแท้
65. การเลียนแบบของเด็ก
66. ถ้าเด็กเก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เด็กจะเกิดความมั่นใจในทุกเรื่อง
67. การเล่นไพ่จับคู่  ช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็น
68. ดินสอและสีเทียนควรให้เด็กเร็วที่สุด
69. กระดาษวาดเขียนมาตรฐาน  ทำให้เกิดคนขนาดมาตรฐานเท่านั้น
70. การให้ของเล่นมากเกินไป  ทำให้เด็กกลายเป็นคนจับจด
71. การเก็บของในห้องหมดจดเกินไปเพราะกลัวอันตรายนั้นไม่ดี
72. เด็กเล็กก็รู้จักระเบียบ
73. จัดสถานที่ให้เด็กมองเห็นอะไรเอง
74. ของเล่นไม่ควรสวยแต่อย่างเดียว
75. สำหรับเด็กเล็ก หนังสืออาจไม่ใช้อ่าน
76. การเล่นแบบง่ายๆ  สร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก
77. การเล่นละคร  ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
78. การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นการพัฒนาทางสติปัญญา
79. ฝึกเด็กให้รู้จักใช้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
80. เด็กเล็กควรให้เดินมากๆ
81. ประสาทสั่งการเคลื่อนไหวจะดีได้ด้วยการฝึก
82. การเล่นกีฬา ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งดี
83. เด็กเล็กไม่รู้ความแตกต่างระหว่างการทำงานและการเล่น
84. การศึกษาในระยะปฐมวัยมิใช่การเรียนพิเศษ

85. ถึงไม่มีเงิน  ไม่มีเวลา  ก็ให้การศึกษาแก่ลูกได้

ตอนที่ 5 
บทบาทของแม่
86. แม่ที่ไม่มีสายตายาวไกล  ให้การศึกษาแก่ลูกไม่ได้
87. สำหรับผู้หญิง  ไม่มีงานใดสำคัญกว่างานเลี้ยงลูก
88. การศึกษาของเด็กเริ่มต้นที่การศึกษาของแม่
89. แม่ต้องไม่ลืมที่จะเรียนรู้จากลูกเสมอ
90. ผู้ที่สามารถเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี  คือแม่มากกว่าพ่อ
91. แม่ไม่ควรบังคับลูกในเรื่องของการศึกษา
92. อย่า ทำแท้ง การศึกษาของเด็ก
93. จงเป็นคุณแม่แก่วิชา  ตอนเด็กอายุ  0-2 ขวบ
94. ลูกไม่ใช่สมบัติของแม่
95. ความไม่มั่นใจของแม่จะทำให้ลูกแย่
96. ความทะนงตนของแม่  ทำให้ลูกกลายเป็นคนยโส
97. ถ้าจะเปลี่ยนลูก  พ่อแม่ต้องเปลี่ยนเสียก่อน
98. การศึกษาที่แท้จริง  คือการศึกษาที่ทำให้ลูกดีกว่าพ่อแม่
99. คนที่สามารถเชื่อใจคนอื่นได้ จะเป็นผู้สร้างศตวรรษที่ 21
100. ผู้ที่กำจัดสงครามและการแบ่งแยกผิวได้  มีแต่เด็กเล็กเท่านั้น


แนะนำโดย ทีมงานพัฒนาการเด็ก

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ
URL: www.พัฒนาการเด็ก.com/2016/01/wait.html
อ่านต่อ >>

กางตำราเลี้ยงลูกแบบวิถีพุทธ "รักลูกให้ถูกทาง"

0 comments
กางตำราเลี้ยงลูกแบบวิถีพุทธ "รักลูกให้ถูกทาง" 
โดย "พระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ"

“...พ่อแม่..เป็นครูคนแรกของลูก ลูกได้อะไรๆ จากพ่อแม่มากที่สุด
ผู้ใดที่กำลังเตรียมเพื่อเป็นพ่อแม่ของคน พึงทำตนให้เป็นพ่อแม่ที่ดี
ทำหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย ทำตนเป็นเยี่ยงอย่างแก่ลูกจริงๆ
ท่านที่จะเป็นพ่อแม่ทั้งหลาย..จงเลิกการตามใจตนเองให้หมด...”

"...พ่อแม่ทั่วไปที่ขาดการศึกษาธรรมะ ไม่มีความรู้ในการสั่งสอนลูก มักตามใจลูกของตนมากเกินไป
เวลาลูกไปทำอะไรผิด ก็มิได้ว่ากล่าวตักเตือน จึงเป็นเหตุให้เด็กเสียคนได้ง่าย
ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกนั้นมีมาก แต่ถ้ามากในทางเสียก็จะเสียหาย
จึงควรที่จะคิดกันบ้างว่า ทำอย่างไรเราจึงจะรักลูกได้อย่างพอดีๆ
หนังสือเล่มนี้จึงเกิดขึ้นโดยอาการอย่างนี้..."



"รักลูกให้ถูกทาง" เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม 
เพื่ออนาคตอันแจ่มใส ในวัยอันบริสุทธิ์ของลูกน้อย
จำนวนหน้า: 321 หน้า
ขนาดไฟล์: 12.49 MB
สำนักพิมพ์: ธรรมะอินเทรนด์
ผู้แต่ง: หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
ขอขอบคุณคลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ebooks.in.th

Download Here : http://tinyurl.com/rakluke

หัวข้อแบ่งเป็นบทต่างๆ ถึง ๓๗ บท
ครอบคลุมทุกแง่มุมของการเลี้ยงลูกและไม่มีวันล้าสมัย

บทที่ ๑   ครูคนแรกของลูก
บทที่ ๒   อิทธิพลของกรรมพันธุ์
บทที่ ๓   ปรารถนาบุตรที่ดีไว้สืบสกุล
บทที่ ๔   การรับถ่ายทอดอุปนิสัย
บทที่ ๕   ความรักที่บริสุทธิ์
บทที่ ๖   แม่พิมพ์ของลูก
บทที่ ๗  สัญชาตญาณของเด็ก
บทที่ ๘   อย่าใช้อารมณ์กับเด็ก
บทที่ ๙   ฝึกเด็กให้กินเป็นเวลา
บทที่ ๑๐ เด็กต้องการอะไร ที่ไหน เมื่อใด
บทที่ ๑๑ วิธีแก้นิสัยเกเร
บทที่ ๑๒ อย่าสร้างอาณาจักรของความกลัว
บทที่ ๑๓ วิธีแก้ความดื้อรั้นของเด็ก
บทที่ ๑๔ จงแก้พื้นฐานความริษยาแต่ยังเยาว์วัย
บทที่ ๑๕ เพราะอะไรลูกจึงเป็นอาชญากร
บทที่ ๑๖ พ่อแม่ควรสอนอะไรลูกก่อน
บทที่ ๑๗ อย่าเบื่อในการตอบปัญหาของลูกๆ
บทที่ ๑๘  ควรฝึกเด็กให้องอาจกล้าหาญ อย่าให้เป็นเจ้าหนูขี้อาย
บทที่ ๑๙ กีฬาเป็นสิ่งจำเป็นของเด็ก
บทที่ ๒๐ ฝึกเด็กให้พูดคำสัตย์จริง
บทที่ ๒๑ ฝึกเด็กให้ตรงต่อเวลา ให้รู้ค่าของเวลา
บทที่ ๒๒ ฝึกเด็กให้เป็นคนมีระเบียบวินัย
บทที่ ๒๓ ฝึกลูกอย่าให้เป็นเด็กมักได้ ให้รู้จักเคารพในสิทธิ์ของผู้อื่น
บทที่ ๒๔ ฝึกลูกอย่าให้เป็นคนเห็นแก่ตัว ให้รู้จักเสียสละให้กับผู้อื่น
บทที่ ๒๕ การเพาะความสามัคคีในหมู่ลูกๆ
บทที่ ๒๖ ฝึกลูกให้รู้จักประหยัดตั้งแต่เยาว์วัย
บทที่ ๒๗ฝึกลูกให้รู้จักประหยัดตั้งแต่เยาว์วัย(ต่อ)
บทที่ ๒๘ ฝึกลูกให้รู้จักกตัญญูแต่เมื่อยังเล็ก
บทที่ ๒๙ฝึกเด็กให้รู้จักอภัยแก่เพื่อน
บทที่ ๓๐ ฝึกเด็กให้รู้จักพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง
บทที่ ๓๑ ฝึกเด็กศึกษาสิ่งแวดล้อม
บทที่ ๓๒ วิธีป้องกันเด็กไม่ให้หนีโรงเรียน
บทที่ ๓๓ สอนเด็กให้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
บทที่ ๓๔ ควรเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความสามารถ
บทที่ ๓๕ บ้านคือโรงเรียน
บทที่ ๓๖ เด็กกับการแต่งกาย
บทที่ ๓๗ เด็กที่ได้รับการฝึกฝนแล้วเท่านั้น เป็นเด็กที่ประเสริฐสุด

รวบรวมโดย ทีมงานพัฒนาการเด็ก

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ
URL: http://happybabiesandkids.blogspot.com/2016/01/love.html
อ่านต่อ >>

สมองลูก ... 9 เดือนในท้องแม่

0 comments
สมองลูก ... 9 เดือนในท้องแม่
โดย รศ.พญ.เฉลิมศรี ธนันตเศรษฐ


สมองมนุษย์ถือเป็นอวัยวะที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ นอกจากนั้นสมองยังเป็นอวัยวะสำคัญที่ควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นคุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเติบโตของสมองลูกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อให้สมองของลูกพัฒนาและมีวิวัฒนาการตามลำดับอย่างสมบูรณ์แข็งแรงเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ค่ะ

38 สัปดาห์ของการเติบโต

ช่วงแรก ... สมองเริ่มปรากฏ
ตัวอ่อน 4 สัปดาห์ : สมองของลูกในครรภ์เริ่มปรากฎ เป็นระยะ 150 เซลล์ ซึ่งจะแบ่งเป็นเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นแรกจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนของระบบประสาท ผิวหนัง และผม
ช่วง 5 - 9 สัปดาห์ : จะมีการเติบโตของสมองและระบบประสาทในไขสันหลังอย่างรวดเร็วจากท่อประสาท (neural tube) และจะเริ่มมีการสร้างเนื้อเยื่อของ ตา หู และลิ้น ซึ่งเป็นส่วนโสตรับรู้ในการกระตุ้นและพัฒนาสมองในเวลาต่อมาเกิดขึ้นด้วย

ช่วงที่ 2 ... เติบโตและพัฒนาผ่านโสตสัมผัส
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของคุณแม่จะขอเรียบเรียงการเจริญเติบโตและการพัฒนาอวัยวะที่เกี่ยวข้องคือโสตสัมผัสต่างๆ ในการป้อนข้อมูลการเรียนรู้เข้าสู่สมอง ตามอายุครรภ์นับจาก 10 สัปดาห์ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นระยะทารก (fetus) แล้ว
10 สัปดาห์ : สมองแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วมาก ศีรษะลูกจึงจะมีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของลำตัว จะเริ่มมีเปลือกตาคลุมบริเวณตาสองข้าง
11 -14 สัปดาห์ : สมองสั่งการให้ลูกดิ้นและเตะไปรอบๆ ได้ แต่ยังแรงไม่พอที่คุณแม่จะรับรู้ได้
15 สัปดาห์ : จะเริ่มมีกระดูก 3 ชิ้นในหูชั้นกลางของลูก แต่ยังไม่เชื่อมโยงกับศูนย์การได้ยินในสมอง
16 – 18 สัปดาห์ : ลูกจะเริ่มดูด กลืน สะอึก และกะพริบตาได้ แต่ยังไม่สมบูรณ์
19 สัปดาห์ : เส้นประสาทจะเริ่มมีไขมันที่เรียกว่า myelin หุ้มลูกเริ่มจัดระเบียบการตื่นและการนอน
20 สัปดาห์ : ประสาทรับรู้เกี่ยวกับการรู้รส ได้กลิ่น ได้ยิน การเห็น สัมผัส จะเริ่มมีการพัฒนาในสมองส่วนที่รับผิดชอบในลักษณะซับซ้อนขึ้น
21-22 สัปดาห์ : ในสมองชั้นกลาง จะมีโรงงานผลิตเซลล์สมองที่เร่งการผลิตอย่างรวดเร็วถึง 25,000 เซลล์ต่อนาทีและจะสลายไปไม่นานหลังคลอด แต่ยังทิ้งโปรแกรมการผลิตต่อเนื่องไปจนกระทั่งลูกอายุ 5 ขวบ ช่วงนี้ลูกจะเริ่มจำเสียงคุณพ่อซึ่งเป็นเสียงทุ้มได้ก่อนเสียงแหลมของคุณแม่ น่าอิจฉาจริงๆ เลยนะคะ
23 สัปดาห์ : ลูกจะรู้สึกขมได้ตามรสอาหารขมของคุณแม่ และกลืนเก่งขึ้นค่ะ
24-29 สัปดาห์ : กระดูกสันหลังจะแข็งแกร่งขึ้น ประกอบด้วย 150 ข้อ 33 วง
แหวนยึดข้อ และ 1,000 เส้นเอ็นที่มาช่วยยึดข้อให้ติดกัน จะเริ่มจับคลื่นสมองของลูกได้
ช่วงนี้คุณแม่สามารถพูดคุย เล่านิทานเปิดเพลงที่มีท่วงทำนองช้าๆ ขึ้นลง และจอตาของลูกจะสมบูรณ์ หนีแสงไฟได้ แยกความสว่างและความมืดได้ค่ะ เรียกว่าลูกจะเริ่มจดจำเสียงของคุณพ่อและคุณแม่ได้ค่ะ
30-33 สัปดาห์ : สมองจะเติบโตอย่างรวดเร็วอีกครั้ง มีจำนวนร้อยพันล้านเซลล์ โสตการรับรู้ทั้งหมดจะสมบูรณ์เต็มที่ ลูกสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกได้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว เมื่อได้ยินเสียงดนตรีที่ชอบ ดิ้นแรงเมื่อหิวหรือได้ยินเสียงดัง มีการเชื่อมโยงของเส้นใยระหว่างเซลล์สมองมากขึ้นเพื่อเพิ่มเครือข่ายของสมองในการเรียนรู้ และจะมีการประสานงานระหว่างการดูด การกลืนกับจังหวะการหายใจมากขึ้น
34-38 สัปดาห์ : ลูกจะลืมตาตอนตื่น หลับตาตอนหลับ จัดเวลาการนอนให้ลงตัวนะคะ ส่วนแม่ที่ทำงานกลางคืนก็จะมีผลทำให้การจัดเวลาการนอนบกพร่องได้ค่ะ
ลูกจะเริ่มกำหมัดชกได้ ดิ้นหนี หรือเบือนหน้า หนีเสียงหรือแสงได้ทันที และสามารถจัดคิวกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ชัดเจนขึ้น คุณแม่จะรับรู้ได้ว่าลูกจะมีการตอบโต้ต่อสิ่งเร้าภายนอกด้วยการดิ้น วิธีที่คาดเดาจากลูกได้คือลูกจะสะอึกแรงและนานขึ้น อาจนานเป็น 10 นาทีก็ได้ค่ะ

ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า สมองของลูกมีการเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายให้ลงตัวและสมบูรณ์ และในขณะที่ทุกอวัยวะมีการเติบโตต่อเนื่องหลังคลอดก็ยังต้องอาศัยความสมบูรณ์ของสมองในการควบคุมด้วย ทารกที่มีความเสียหายของสมอง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม นอกจากจะมีสติปัญญาด้อยแล้ว ก็มักจะมีความบกพร่องในระบบอื่นๆ ด้วย เช่น แขนขาเกร็ง การทรงตัวเสียหาย และอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามีความเสียหายในส่วนไหนของสมองที่จะเป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะนั้นๆ ค่ะ

ดังนั้นการดูแลในระหว่างการตั้งครรภ์ ในเรื่องของอาหาร ความเป็นอยู่ หลีกเลี่ยงมลภาวะ
ที่เป็นพิษ และการดูแลในเรื่องของอารมณ์ให้เบิกบาน เป็นคุณแม่ที่มีความสุข รวมถึงการกระตุ้นหรือสื่อสารกับลูกอย่างเหมาะสมพอควรก็จะช่วยให้ลูกมีสมองที่ประกอบด้วย IQ และ EQ ที่สมดุล ช่วยให้ลูกมีศักยภาพในการเรียนรู้ตามวัยได้เต็มที่และอย่างมีความสุข ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจและปฏิบัติให้กับลูกได้ตามควรนะคะ

3 ส่วนสำคัญของสมอง
เมื่อทราบว่าสมองมีขั้นตอนในการพัฒนาอย่างไรแล้ว เมื่อสมองพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบแล้วจะมีส่วนประกอบและหน้าที่ดังนี้ค่ะ
1.สมองส่วนหลังหรือก้านสมอง (brain stem)
จะมีการเชื่อมต่อกับระบบประสาทในกระดูกสันหลัง (spinal cord) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่เป็นพื้นฐานของการมีชีวิต เช่น การตื่นตัวเพื่อหนีภัย การทรงตัว การหายใจ เป็นต้น และเป็นส่วนป้อนข้อมูลไปกลับระหว่างสมองส่วนเหนือขึ้นไปกับระบบประสาทที่แตกแขนงออกไปจากไขสันหลังที่ถูกปกป้องอยู่ภายในกระดูกสันหลัง เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ประสานงานกันในการทำงานตามคำสั่งของสมองส่วนบนไปได้อย่างราบรื่นและคล่องตัวได้ตลอดเวลา ไม่ว่าเวลาหลับหรือเวลาตื่น

2. สมองส่วนกลาง ( Mid brain )
เป็นสมองส่วนที่มีความซับซ้อนขึ้น เพื่อตรวจสอบและปรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั้งร่างกายให้ทำงานได้อย่างลงตัว ไม่ผิดพลาดรวมถึงการป้อนข้อมูลไปกลับระหว่างสมองส่วนหน้า เพื่อการจดจำและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เรียกว่าอัพเดทตลอดเวลาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่ามือโปรหรือความเชี่ยวชาญเกิดขึ้นเมื่อได้ทำบ่อยๆ มีรายงานว่า ยังมีพื้นที่หลายส่วนในสมองส่วนนี้ที่ยังไม่ทราบหน้าที่ชัดเจน ในขณะที่ส่วนใหญ่จะสามารถระบุหน้าที่ในการทำงานได้แล้ว เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น เส้นเลือดอุดตัน ก็จะทราบว่าจะเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะอะไรที่ถูกควบคุมด้วยสมองส่วนนั้น แล้วจะสามารถอธิบายอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้เสมอ

3. สมองส่วนหน้า (Fore brain)
มีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากที่สุด และมีศักยภาพในการพัฒนาแบบไร้ขอบเขต มนุษย์จึงมีสมองส่วนหน้าที่ใหญ่ที่สุด เมื่อเทียบกับบรรดาสัตว์อื่นๆ ที่มีกระดูกสันหลัง และมีรายงานว่า ปลาโลมาซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกับคน ก็มีขนาดสมองส่วนหน้าใกล้เคียงกับมนุษย์ มนุษย์จึงสามารถคิดค้นเทคโนโลยีที่ก้าวไกลมาก ล้ำหน้า และไม่น่าเชื่อว่าบางอย่างจะมาจากสมองของมนุษย์ได้ แต่หากใช้สมองผิดทางมนุษย์ก็เป็นสัตว์สังคมที่ทำลายล้างกันได้น่ากลัว และรุนแรงที่สุดได้เช่นกัน รวมถึงการทำลายได้แม้แต่ชีวิตของตัวเอง ซึ่งสัตว์อื่นๆ ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เลยนะคะ

นอกจากนี้ยังมีสมองชุดพิเศษอีก 1 ชุด เรียกว่า cranial nerves มีทั้งหมด 12 เส้น เรียงรายอยู่ใต้สมองส่วนกลางและส่วนหน้า เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของการรับรู้ และการตอบโต้กลับของโสตต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และเพื่อการจดจำและเรียนรู้แบบต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งตลอดเวลาเช่นกัน สมองจึงเปรียบเสมือนฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีเนื้อที่ในร่องสมองเป็นที่เก็บและพัฒนาข้อมูลแบบต่อยอดได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และมีความเร็วสูงแบบ super high speed ที่ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้

ด้วยเหตุนี้เองสมองจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เปรียบเป็นหัวหน้าใหญ่คอยสั่งการให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข แล้วการจะทำให้สมองพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดคนสำคัญไม่ใช่ใครอื่น ...คุณแม่นั้นเองค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจากนิตยสาร Modern Mom
เรียบเรียงโดย ทีมงานพัฒนาการเด็ก

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ
URL: www.พัฒนาการเด็ก.com/2016/01/brain.html

อ่านต่อ >>

ทีวีพี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิคที่คร่าชีวิตลูก

0 comments
ทีวีพี่เลี้ยง อิเล็คทรอนิคที่คร่าชีวิตลูก



พี่เลี้ยง ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับครอบครัวยุคปัจจุบันที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้านทั้งคู่ แม้ว่าแต่ละครอบครัวจะมีจำนวนบุตรไม่มากซึ่งต่างจากยุคก่อน ในอดีตที่มักมีบุตรหลายคน แต่ถึงกระนั้น พี่เลี้ยงหาได้เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะคุณแม่เพียงคนเดียวสามารถรับมือกับเจ้าตัวน้อยได้อย่างสบายๆ แต่เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่ครอบครัวไทย มักเป็นครอบครัวเดี่ยวที่อยู่กันตามลำพังพ่อแม่ลูก ซึ่งจะหาครอบครัวขยายในสังคมไทยนั้นก็มีเป็นจำนวนน้อยค่ะที่จะมีญาติผู้ใหญ่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน ทำให้ต้องดิ้นรนหาพี่เลี้ยงแบบมีคุณภาพและไว้ใจได้ ซึ่งก็หาได้ยากจริงๆ แต่น่าแปลกใจที่หลายครอบครัว เฟ้นหาพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพและไว้วางใจได้ แต่กลับมอบความไว้วางใจให้กับพี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิค

ทีวี ได้กลายเป็นพี่เลี้ยงประจำครอบครัว ที่แทบทุกบ้านไม่ว่าจะยากดีมีจนล้วนแต่มีพี่เลี้ยงนี้ด้วยกันทั้งสิ้น กว่าจะรู้ตัวว่าลูกรับข้อมูลขยะเข้าไปในสมอง ลูกก็แสดงพฤติกรรมแปลกๆ ทำให้ทั้งคุณพ่อคุณแม่งงงวยไปตามๆ กัน หรือบางทีอาจไม่รู้ถึงมหันตภัยที่ตามมาทำให้ละเลยจนเกือบสายเกินไปหรือจนกระทั่งมารู้อีกทีลูกก็ติดทีวีงอมแงมเสียแล้ว

นี่คือสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่คุณพ่อคุณแม่ยากที่จะรับมือได้จริงๆ และนับว่าสร้างความกังวลใจไม่น้อยไปกว่าปัญหาอื่นๆ ของลูก ดังผลการศึกษาของสถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้เลือกศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,015 คน ซึ่งเป็นเด็กวัยประถมศึกษาที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ 5 เมืองสำคัญ ๆได้แก่ กรุงเทพมหานครฯ นครสวรรค์ นนทบุรี ชลบุรี และนครราชสีมา พบว่า เด็กใช้เวลาระหว่างสัปดาห์ คือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ดูทีวี โดยเฉลี่ย 5.1 ชั่วโมง ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับผลการวิจัยของสำนักวิจัยเอแบคโพล เมื่อปี พ.ศ. 2546 ที่พบว่า เด็กในเมืองใช้เวลาเฉลี่ย 3-5 ชั่วโมง ในการดูทีวี นอกจากนี้ยังพบอีกว่าโดยเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์ คือวันเสาร์-อาทิตย์ เด็กจะเกาะติดอยู่หน้าทีวีมากถึง 9.47 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยตลอดทั้งปีเด็กใช้เวลาดูทีวี 6.1 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 2,236 ชั่วโมง ในขณะที่เด็กใช้เวลาอยู่ในห้องเรียนน้อยกว่าดูทีวีเสียอีก คือประมาณ 1,600 ชั่วโมง !!

ทีวี...พี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิคผู้รับการเชื้อเชิญเข้ามาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ในครอบครัวด้วยความเต็มใจ

จากผลการวิจัยการดูทีวีของครอบครัวดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าทีวีได้กลายเป็นพี่เลี้ยงของเด็กๆ ในครอบครัว โดยได้รับการอนุญาตและเชื้อเชิญจากคุณพ่อคุณแม่ด้วยความเต็มใจจริงดังที่กล่าวหรือไม่นั้นคุณพ่อคุณแม่ ลองพิจารณาจากเหตุการณ์ต่อไปนี้ จะพบว่าลูกรักอยู่กับพ่อแม่หรืออยู่กับ ทีวี...พี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิคมากกว่ากัน...

ยามเย็นสนธยา ...ความว้าวุ่นของคุณแม่
”หนูอย่าเพิ่งกวนแม่สิคะ... ดูทีวีไปก่อน อาหารเสร็จแล้วแม่จะยกไปให้นะจ้ะ...” เหตุการณ์แบบนี้เดขึ้นในครอบครัวของคุณพ่อคุณแม่หรือไม่คะ เมื่อลูกกลับจากโรงเรียน คุณแม่ต้องเข้าครัว จึงมักฝากลูกไว้กับ ทีวี...พี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิค เพื่อคุณแม่จะได้ทำอะไรๆ ในครัวได้สะดวกสักหน่อย ไม่มีตัวเล็กมาป้วนเปี้ยนให้ต้องหวาดเสียวว่าจะคว้ามีดที่วางไว้บนเขียงเตรียมหั่นผักผลไม้ หรือคว้าหม้อที่ร้อนซึ่งวางบนโต๊ะเพราะเพิ่งยกลงจากเตา

วันหยุดสุดสัปดาห์ที่บรรยากาศสบายๆ ...โอกาสพักผ่อนของคุณพ่อคุณแม่
พรุ่งนี้วันหยุด แม่เตรียมข้าวกล่องไว้ในตู้เย็น หนู (ลูกคนโตวัย 13 ปี) อุ่นเอาเองในไมโครเวฟได้เลยนะลูก อุ่นเผื่อของน้องๆ (วัย 10 และ 7 ขวบ) ด้วยนะจ้ะ วันเสาร์มีรายการทีวีดีๆ ในสำหรับเด็กเยอะแยะเชียว

แม้กระทั่งวันหยุดยังใช้บริการพี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิคแบบหัวเป็นน๊อตตัวเป็นเกลียว แบบนี้ต้องจ่ายค่าตอบแทนแพงขึ้นตามการใช้งาน ก็ค่าไฟฟ้าประจำเดือนไงล่ะค่ะ เพราะคุณพ่อคุณแม่ต้องการมีเวลาส่วนตัวในวันหยุดสุดสัปดาห์ตามลำพังกันบ้าง

วันปิดเทอมอันแสนยาวนาน...โอกาสพักผ่อนของคุณลูก
พี่จุ๊บแจง (พี่เลี้ยงตัวจริง) จะอยู่เป็นเพื่อนหนูนะคะ หนูอย่าออกไปซุกซนนอกบ้านนะคะ แล้วกลับจากที่ทำงานคุณพ่อจะซื้อขนมมาฝากนะจ้ะ
พี่เลี้ยงตัวเป็นๆ และพี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิคช่วยกันดูแลลูกรักในช่วงปิดภาคเรียน แบบนี้เห็นบ่อยๆ ในหลายครอบครัว เพราะช่วยปิดเทอมยาวนาน บางทีก็ไม่รู้จะเอาลูกฝากไว้กับใครดี ใช่มั้ยคะ และแล้วพี่เลี้ยงตัวจริงก็เป็นคนเปิดทีวี... ให้พี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิคช่วยเลี้ยงน้องแทนตัวเอง เพราะพี่เลี้ยงนี่เก่งฉกาจเอาน้องอยู่กับที่ได้เป็นชั่วโมงๆ เลยทีเดียว

ผลกระทบต่อพัฒนาการของลูก
เราได้เห็นแล้วว่า ทีวี...พี่เลี้ยงอิเลคทรอนิคมีเวลาอยู่กับลูกรักหลายช่วงเวลาจริงๆ นี่เองที่ทำให้ย่อมส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูก ซึ่งพัฒนาการของลูกรักนั้นมีองค์ประกอบ 4 ด้านด้วยกัน คือพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา หากลูกเจริญเติบโตอย่างสมวัย พัฒนาการทั้ง 4 ด้านจะเจริญงอกงามอย่างเหมาะสม แต่ทว่าหากมีคลื่นรบกวนการเจริญเติบโตที่ควรจะเป็นไปตามพัฒนาการตามวัย คือจากสื่อทางทีวี โดยเฉพาะถ้าลูกอยู่ในช่วงระหว่างอายุ 6-12 ขวบ ที่ปรับเปลี่ยนจากความชื่นชมในการได้เล่นสนุกๆ ใช้แรงมากๆ มาเป็นความสนใจการเล่นที่ใช้แรงน้อยลง และการเล่นโดยใช้จินตนาการ จึงไม่น่าแปลกใจที่เด็กในช่วงวัยนี้ง่ายที่จะติดทีวีงอมแงมเชียวค่ะ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อพัฒนาการที่สำคัญๆ ดังนี้ค่ะ

ด้านร่างกาย
ลูกรักที่อยู่ในช่วงวัยเรียนเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเฉพาะสามารถใช้กล้ามเนื้อที่ต้องอาศัยกิจกรรมการเล่น การออกกำลังกาย ดังนั้นการนั่งลุ้นติดจอเพื่อดูรายการโปรดหน้าทีวีจึงเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อพัฒนาการด้านร่างกายของลูกค่ะ นอกจากนี้ยังส่งผลข้างเคียงต่อระบบประสาทและสายตาด้วยค่ะ

...ระบบประสาท...ปวดศีรษะ...สายตา ดูหนังการ์ตูนญี่ปุ่นอันตายถึงวูบ เป็นพาดหัวข่าวเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว เหตุเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเด็กญี่ปุ่นมากกว่า 700 คน มีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนและเป็นลมวูบหมดสติขณะดูการ์ตูนยอดฮิตเรื่องหนึ่งจนถึงกับต้องหามส่งโรงพยาบาล ต่อมาพบว่าเกิดจากภาพและแสงสว่างจ้าจากจอทีวีที่ติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ทำให้ออกซิเจนเลี้ยงสมองไม่ทัน จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้มีการศึกษาวิจัยที่ประเทศอังกฤษ และได้ข้อสรุปว่า แสงที่กระพริบเร็วมีผลต่อระบบประสาทโดยอัตรากระพริบแสงต่ำสุดทำให้เกิดอาการกับระบบประสาทคือประมาณ 18 ครั้งต่อวินาที จากนั้นทำให้การแพร่ภาพในประเทศอังกฤษถูกควบคุมให้กระพริบภาพได้ไม่เร็วกว่า 3 ครั้งต่อวินาที และมีข้อแนะนำว่า การดูทีวีอย่างมีความสุข คือไม่มีภาพกระพริบเร็วและจ้าเกินไปและควรอยู่ห่างจากจอ อย่างน้อย 6 ฟุต โดยเปิดดูรในห้องที่เปิดไฟสว่าง จะช่วยลดผลจากการกระพริบของภาพและไม่เป็นอันตรายต่อสายตาด้วยค่ะ

...โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่อ่อนแอ ไม่เพียงส่งผลกระทบที่เห็นทันตา ยังมีผลกระทบที่แฝงตัวอยู่อย่างยาวนานและน่ากลัวด้วยค่ะ ดังที่มีการวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลของทีวีเกี่ยวพัน กับสุขภาพโดยนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ได้ทำการศึกษาเด็กตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป พบว่าอิทธิพลของทีวีเกี่ยวพันกับสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยเด็กอายุระหว่าง 5-15 ปี ที่ติดทีวีมีผลทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันสูง ติดบุหรี่ และเกียจคร้านที่จะออกกำลังกายจนกลายเป็นผู้ใหญ่อ้วนในที่สุด เมื่อได้ผลการวิจัยนี้ นักวิจัยจึงย้อนกลับไปศึกษาผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาและบำบัดแล้วพบว่า เป็นคนอ้วน 17% คนติดบุหรี่ 17% แล้วยังพบอีกว่ามีประวัติติดทีวีตอนเด็กจนโต โดยดูทีวีนานเกิน 2-3 ชั่วโมง ทุกคนเลยทีเดียว

ด้านจิตใจและอารมณ์
กว่าลูกของเราจะเติบโตผ่านพ้นไปในแต่ละวัยได้ซึมซับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ล้อมรอบตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูก หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ไหวตัวและรีบรับมือโดยเร็วค่ะ โดยเฉพาะพัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์ที่มักได้รับอิทธิพลจากทีวีดังเช่น

ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง มีการศึกษาระยะยาวเพื่อติดตามพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายนานถึง 18 ปี ของ ดร.เจฟฟรี จอห์นสัน แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พบว่าเด็กๆ ที่ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีมากกว่าวันละ 1 ชั่วโมง มีแนวโน้มก้าวร้าวขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ และพบว่าเด็กในกลุ่มที่ดูทีวีวันละมากกว่า 3 ชั่วโมง เคยใช้ความรุนแรงในขณะเป็นวัยรุ่นถึง 28.8% เมื่อเทียบกับเด็กในกลุ่มที่ดูทีวีวันละ 1-3 ชั่วโมง และต่ำกว่า 1 ชั่วโมง พบว่าเคยใช้ความรุนแรงในขณะเป็นวัยรุ่น 22% และ 5.7% ตามลำดับ การวิจัยครั้งนั้น ดร.จอห์นสัน ได้สรุปว่าผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กดูทีวีมากกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเด็กที่ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีมากได้รับอิทธิพลด้านอารมณ์อย่างมาก เด็กเกิดความชินชากับความรุนแรงในทีวี ซึ่งผลของรายการทีวีที่รุนแรงนี้เด็กอาจแสดงทันที หรือค่อยๆ ปรากฏภายหลังก็ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรเฝ้าระวังและไม่มองเห็นว่า พฤติกรรมโลดโผนรุนแรงของลูกเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ

สมาธิสั้น มีรายงานผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า เด็กวัยเรียนที่เป็นโรคสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ได้นานเพียงพอ ถ้าเป็นเด็กเล็กเวลาเล่นของเล่นแต่ละชิ้นก็จะเล่นในช่วงสั้นๆ แล้วเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญของโรคนี้มาจากเด็กไม่มีพัฒนาการตามวัย เพราะเล่นเกมคอมพิวเตอร์และดูทีวีมากเกินไป

โรคนี้พบในเด็กไทยด้วยค่ะ พญ.เพ็ญศรี กระหม่อมทอง หัวหน้ากลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน กรมอนามัย กล่าวว่า...ในไทยนั้นเริ่มพบเด็กที่เป็นโรคนี้มากขึ้น แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีจำนวนเท่าใด ทั้งนี้เด็กในวัยแรกเกิด ถึง 6 ปี เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดสำหรับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการกระตุ้นโดยพ่อแม่เป็นผู้สอน ดังนั้นการที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ นานๆ จะทำให้เด็กไม่มีพัฒนาการสมวัยและมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคสมาธิสั้นด้วย...

ขาดความอดทน และไร้วินัย เด็กที่ใช้เวลาดูทีวีมาก มักเป็นเด็กที่มีอารมณ์แปรปรวน เมื่อไม่ได้สิ่งใดทันใจจะโมโหง่าย ทะเลาะกับพี่กับน้องหรือแม้แต่กับคุณพ่อคุณแม่เมื่อถูกขัดใจ เพราะคุ้นเคยกับความสะดวกรวดเร็วทันใจจากการดูทีวี อยากดูช่องไหนก็กดรีโมทเปลี่ยนได้ฉับไว และยังทำให้เป็นเด็กที่เบื่อง่าย นอกจากนั้น การดูทีวีไปเรื่อยๆ ตามที่แรงดึงดูดของรายการทีวี จะพาไปทำให้เด็กสนุกสนานในความเพลิดเพลินจนไม่รู้ว่าควรจะใช้เวลาทำสิ่งอื่นอย่างไร เวลาไหน กลายเป็นคนไร้วินัยในชีวิตไป

อยากได้ อยากมี นักการตลาดสอนเรื่องการตลาดว่า เด็กคือกลุ่มเป้าหมายสำคัญซึ่งจะติดสัญลักษณ์หรือยี่ห้อของสินค้า ดังนั้นนักธุรกิจและนักการตลาดจึงพยายามทำให้สัญลักษณ์ของสินค้าติดอยู่ในสมองของเด็ก โดยมักใช้ทีวีเป็นช่องทางขายของให้เด็ก ซึ่งแม้เด็กไม่มีกำลังจ่ายแต่มีคุณพ่อคุณแม่ที่รักลูกพร้อมจ่าย เพื่อให้ลูกรักได้สิ่งที่อยากได้อยากมี แม้ไม่อยากซื้อแต่จำใจต้องซื้อให้ เพราะถูกลูกรบเร้าหนักเข้า อีกทั้งโดยปกติไม่ค่อยมีเวลาให้ลูกอยู่แล้ว จึงคิดว่าเป็นการชดเชยให้ลูก ลูกจึงได้รับการเติมด้วยวัตถุภายนอก แทนความต้องการภายในทางจิตใจทั้งที่เป็นสิ่งซึ่งลูกโหยหาอยากได้รับจากคุณพ่อคุณแม่มากที่สุดค่ะ

ด้านสังคม
พัฒนาการของลูกรักไม่ได้มีเพียงด้านร่างกายและจิตใจหรืออารมณ์เท่านั้นค่ะ พัฒนาการด้านสังคมเป็นอีกด้านหนึ่งที่มีการพัฒนาไปพร้อมกัน เพื่อเตรียมตัวลูกรักออกไปสู่โลกภายนอก เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ค่ะ ดังนั้น ลูกรักจึงจำเป็นมีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างสมดุล แต่ทว่ากลับมีสิ่งรบกวนพัฒนาการด้านสังคมของลูกที่อยู่ใกล้ตัวในบ้าน คือทีวี อย่างที่คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจไม่เคยนึกมาก่อนค่ะ

ดังการเผยแพร่ผลสำรวจของสถาบันนักวิชาการด้านกุมารเวชศาสตร์ แห่งสหรัฐอเมริกัน ในวารสารกุมารเวชศาสตร์ ที่ได้ระบุว่าการดูทีวีได้เข้าไปรบกวนกระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่เด็กพึงมีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ หรือสมาชิกในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ลองจินตนาการดูซิคะว่า หากทีวีไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในครอบครัวแล้ว สมาชิกในครอบครัวน่าจะพูดคุยกันมากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่นะ...

นอกจากรายงานฉบับนี้ยังสรุปว่าเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรดูทีวีเลยค่ะ แต่ถ้าอายุเกิน 3 ขวบแล้ว สามารถดูได้วันละ 30 นาที ซึ่งถ้ามากกว่านี้จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจด้วยค่ะ ไม่เพียงเฉพาะจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสังคมเท่านั้น เนื่องจากเด็กจะนั่งอยู่แต่หน้าจอ ไม่ได้พูดคุยกับใครและไม่ได้ออกกำลังกาย ซึ่งแน่นอนจะตามมาด้วยโรคอ้วน และเด็กที่ติดทีวีมักใช้เวลาสร้างโลกส่วนตัวเล็กๆ ของตัวเองแทนการสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างค่ะ ซึ่งย่อมจะสร้างปัญหาเมื่อโตขึ้นแล้ว ออกไปเผชิญสังคมที่ขยายแวดวงมากขึ้นนอกเหนือจากสังคมแคบๆ ในครอบครัวค่ะ ที่อาจมีความเข้าใจและเห็นใจที่สังคมภายนอกลูกมักไม่ได้รับแบบที่เคยรับในครอบครัว ในที่สุดจะสร้างภาวะให้อนาคตลูกต้องกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความตึงเครียด เพราะไม่สามารถประสบกับความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือการดำเนินชีวิตในสังคม เพราะไม่มีทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง อย่างที่เราอาจเคยพบเคยเห็นบุคคลประเภทนี้ค่ะ ซึ่งหากติดตามค้นหาสาเหตุมักพบว่า มาจากความบกพร่องของพัฒนาการด้านสังคมในวัยเด็กค่ะ

ด้านสติปัญญา
ลูกรักกำลังอยู่ในวัยที่มีความสามารถรับรู้และคิดคำนึงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นช่วงที่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาอย่างเป็นระบบ จากการสร้างมโนภาพในใจ การใช้เหตุผลเบื้องต้น จนถึงสามารถเข้าใจในเรื่องที่ค่อยๆ ซับซ้อนเพิ่มขึ้นตามวัย แต่ทว่ามีคลื่นรบกวนจากทีวี... เพราะการดูทีวีมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง เด็กที่ดีทีวีมากๆ จะไม่มีการเล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นการเล่นที่มีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ตรงกันข้ามเด็กที่ไม่ดูทีวีมากจะมีเวลาเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวมากกว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้จากผู้คนรอบข้าง ไม่ใช่กับทีวีซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวที่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบ ทำให้เด็กขาดการเรียนรู้เพราะใช้ ทักษะเพียงด้านเดียว คือการฟัง และยังขาดการพัฒนาตนเองด้าน การรู้คิด เพราะเป็นฝ่ายเปิดรับข้อมูลจากทีวีแต่ฝ่ายเดียว

ทีวีมีข้อดี...บ้างไหมหนอ
ได้กล่าวถึงผลกระทบของทีวีต่อพัฒนาการของลูกมาเสียมาก คุณพ่อคุณแม่อาจนึกในใจว่า แล้วจะทำอย่างไรกับทีวีที่มีอยู่ในบ้าน บางบ้านมีตั้งหลายเครื่องเสียด้วย ซึ่งความจริงแล้วทีวีมีคุณอนันต์ด้วยค่ะ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้แนวทางที่จะดึงประโยชน์จากทีวีค่ะ

แนวทางใช้ประโยชน์จากทีวี ...พี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิค
การใช้ประโยชน์จากทีวี คุณพ่อคุณแม่ต้องร่วมใจกันนะคะ เพราะถ้าอีกคนปฏิบัติแต่อีกคนไม่ปฏิบัติ จะไม่บรรลุผลสำเร็จและในที่สุดการปล่อยปละละเลยจะเกิดขึ้น ทำให้ลูกมีอิสระเลือกดูรายการทีวีได้ตามต้องการ ซึ่งเด็กไม่มีวิจารณญาณพอที่จะเลือกสรรได้ค่ะว่าสิ่งใดดีมีประโยชน์

แนวทางใช้ประโยชน์จากทีวีที่คุณพ่อคุณแม่พึงปฏิบัติร่วมกันนั้น มีดังนี้ค่ะ

มีข้อตกลงชัดเจนระหว่างพ่อแม่และลูกให้ดี
คุณพ่อคุณแม่ควรตกลงกันชัดเจนว่าจะอนุญาตให้ลูกว่า... ดูทีวีได้วันละเท่าไร ซึ่งไม่ควรเกินวันละ 1-2 ชั่วโมง ...ดูได้เวลาไหน โดยเรียงลำดับกิจกรรมให้ลูกอย่างเหมาะสม เช่น ทำการบ้านให้เสร็จก่อน ไม่รับประทานอาหารไป ดูทีวีไป หรือในวันหยุด ควรมีกิจกรรมอื่นแทรกให้เด็กทำเป็นบางช่วง ไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งติดจอตลอดเวลา โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้หลายบ้านเป็นสมาชิกเคเบิลทีวีที่มีรายการให้ชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง จบเรื่องนี้ต่อเรื่องนั้น จบเรื่องนั้นต่อเรื่องโน้น ซึ่งมีการสำรวจการใช้เวลาของครอบครัวพบว่า ร้อยละ 51 ของครอบครัว ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการดูทีวี ทั้งที่มีกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวสามารถทำร่วมกันในเวลาว่างได้อีกตั้งมากมาย
การมีข้อตกลงชัดเจน แต่ทว่าไม่เป็นไปตามที่ตกลงคงไม่เป็นประโยชน์ ตรงนี้ล่ะค่ะที่เป็นโจทย์ยากยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัว เพราะส่วนใหญ่มักตกหลุมออดอ้อนของลูก ...อีกแป๊บเดียวแม่ ...ใกล้จบแล้วฮะ ขออีกเดี๋ยวนะคะ บางรายใช้ลูกไม้อาละวาดลงไปดีดดิ้นและมักได้ผล เพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่รู้จะจัดการอย่างไรดี ต้องยอมแต่โดยดี แบบนี้ลูกจับได้ว่าใช้วิธีนี้ได้ผลดีแฮะ... เลยใช้วิธีนี้อีก แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะปราบลูกได้อยู่หมัด กลับกลายเป็นถูกลูกปราบเสียอยู่หมัดแทน

คุยกับลูก...รายการไหนที่ว่าดี
ดูรายการใดได้บ้าง ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ควรรู้ว่าวัยของลูกเหมาะสมกับรายการแบบใด เช่น ถ้าลูกยังเล็กมากประมาณ 2-3 ขวบ สิ่งที่ได้รับจากทีวีมีเพียงภาพเคลื่อนไหว ทักษะในการมองเห็นและการใช้ภาษา ดังนั้นรายการที่เลือกให้ลูกดูจึงไม่ควรมีเนื้อหาที่ซับซ้อนนะคะ อาจชวนลูกออกเสียงตามหรือป้อนคำถามง่ายๆ และไม่ควรให้ดูเกิน 15 นาทีค่ะ สำหรับลูกวัย 3-5 ขวบที่สามารถติดตามเนื้อหาที่ซับซ้อนขึ้นแต่ต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวนะคะ โดยไม่ควรดูให้เกิน 15-30 นาที และป้อนคำถามที่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน ส่วนลูกวัย 6-8 ขวบ เลือกรายการที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยต่อไป คือวัยพรีทีน โดยไม่ควรให้ดูเกิน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงนะคะ
เห็นแล้วใช่หรือไม่คะว่า ทีวี...พี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิค ไม่ได้มีแต่ข้อเสียอย่างเดียว ข้อดีก็มี อยู่ที่จะเลือกใช้ประโยชน์จากรายการต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัยของลูกอย่างไร ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรคัดเลือกสิ่งที่ดีให้ลูกรักนะคะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมีการฝึกอบรมผู้ผลิต และควบคุมผู้ผลิตสื่ออย่างเป็นระบบ ดังเช่นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบในแนวทางและมาตรการการใช้สื่อของรัฐเพื่อการศึกษาและเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยกำหนดให้สื่อโทรทัศน์จัดสัดส่วนเวลาสำหรับเนื้อหาสาระของรายการเพื่อเด็กร้อยละ 10-15 นาที ของเวลาออกอากาศ และยังได้กำหนดระยะเวลาออกอากาศระหว่าง 8.00-22.00 น. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย โดยให้มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา

นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญ แต่ทั้งนี้เห็นว่าถ้ามีการฝึกอบรมบุคคลที่ใกล้กับผู้รับสื่อตัวน้อย คือคุณพ่อคุณแม่ด้วยอย่างเป็นระบบว่าจะเลือกสรรสิ่งดีจากรายการต่างๆ ในทีวี และจัดการให้การดูทีวีเป็นประสบการณ์เรียนรู้ของลูกได้ อย่างไร คงจะดีไม่น้อยนะคะ เพื่อจะได้ ไม่ปล่อยให้ ทีวี...พี่เลี้ยงอิเล็คทรอนิค มีอิทธิพลต่อลูกรักมากไปกว่านี้ค่ะ

ขอขอบคุณ นิตยสารบันทึกคุณแม่ เมษายน 2005
เรียบเรียงโดย ทีมงานพัฒนาการเด็ก

ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์กรุณาช่วยบอกต่อด้วยนะคะ
URL: www.พัฒนาการเด็ก.com/2016/01/TV2.html
อ่านต่อ >>
 

Copyright © 2011 - 2016 พัฒนาการเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เลี้ยงลูกรักให้มีความสุขสมวัย