พัฒนาการเด็ก: การเล่นของเด็กทารก คู่มือเลี้ยงลูก หนังสือเสริมพัฒนาการ ของเล่นเสริมพัฒนาการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารเด็ก เด็กสองภาษา ดนตรีเพื่อลูกรัก นิสัยการนอน ฟันน้ำนมซี่แรก ภาษาลูกน้อย หน้าที่ของบิดามารดา เลี้ยงลูกให้ฉลาด เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก คู่มือเลี้ยงเด็ก



พัฒนาการเด็ก
ยินดีต้อนรับสู่ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับลูกน้อย
พัฒนาการลูกรัก ♥ ช้าไม่ได้ อ่านเลยนะคะ
ถ้าเห็นว่าเว็บไซต์นี้ดีมีประโยชน์ โปรดช่วยบอกต่อ

การเล่นของเด็กทารก

การเล่นของเด็ก เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติของเด็กทุกคน เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าสำหรับเด็ก ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในวัยเด็กก็ว่าได้ เด็กจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการเล่นอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน ขณะเล่น เด็กจะ เกิดความรู้สึกเป็นสุขได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว รู้จักตัวเองมากขึ้น ส่งผลให้พัฒนาการในด้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างสมดุล เด็กเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากการเล่น เหมือนกับผู้ใหญ่เรียนรู้ การทำงาน

ดังนั้นถ้าต้องการให้เด็ก มีทักษะการทำงานในอนาคต ต้องส่งเสริมให้เด็กเล่น อย่างถูกต้อง ของเล่นไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก สร้างความเพลิดเพลิน สนุกสนาน สร้างปัญญา สร้างความชำนาญ ในการใช้มือ เท้า และร่างกายส่วนอื่น ๆ

ทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน 

ชอบมองดูของเล่นที่มีสีดำ - ขาว มากกว่าสีอื่น ๆ เพราะเป็นสีที่มีความเข้มต่างกันมากที่สุด สามารถช่วยกระตุ้นประสาท การมองเห็นของทารก ได้เป็นอย่างดี และยังช่วยพัฒนาสมาธิให้กับทารกได้อีกด้วย มีนักจิตวิทยาเด็กหลายท่านได้ทำการศึกษาทดลองกระตุ้นการมองเห็นด้วยสีดำ - ขาว พบว่า เมื่อผ่านไปสามสัปดาห์ ทารกที่ได้รับการกระตุ้นด้วยของเล่นอย่าง โมบายที่มีลายกราฟฟิก ตารางสีขาว-ดำ จะมีสมาธิมากขึ้น จากที่เคยใช้เวลาเพียง 4-10 วินาที ในการจ้องสิ่งแปลกใหม่ที่ผ่านเข้ามาในสายตา แต่ทารกกลุ่มนี้ กลับใช้เวลาในการจ้องมองวัถตุที่สนใจได้นานเพิ่มขึ้นเป็น 1 นาที หรือบางคนใช้เวลานานถึงครึ่งนาทีทีเดียว ซึ่งการใช้สายตาของทารกเช่นนี้จะมีผลโดยตรงต่อระดับสติปัญญา เพราะในระหว่างที่ทารกกำลังจ้องมองวัตถุต่าง ๆ เหล่านั้น เซลล์สมองจะเติบโต สร้างเส้นใยประสาทเชื่อมต่อ จุดต่าง ๆ เพื่อเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ทำให้ทารกมี ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งรอบข้างเมื่อเติบโตขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหาของเล่น เช่น โมบายล์ที่มีลายดำ-ขาว แผ่นกรุลายหมากรุก มาแขวนไว้ในระยะที่ลูกสามารถมองเห็นได้ เป็นการฝึกสายตาลูกและกระตุ้นให้มีการใช้สายตาทั้งสองข้าง


วัย 4 ถึง 6 เดือน 

เริ่มมีการพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เริ่มใช้มือ หยิบของใกล้ตัว ควรเลือกของเล่นที่ ช่วยฝึกการใช้กล้ามเนื้อ นิ้วมือ เช่น ของที่ถือได้มีสีสดใสและมีเสียง ลูกบอลนิ่ม ๆ ตุ๊กตาเขย่ามีเสียง ช้อนไม้เคาะกับสิ่งของทำให้เกิดเสียง ฝึกให้เด็กหันซ้าย-ขวา เริ่มวางของเล่นไว้ห่างตัว เพื่อให้เด็กได้ขยับตัวเอื้อมมือหยิบของ หรืออาจเป็นตุ๊กตายางเป็นรูปต่าง ๆ มีผิวหยาบแต่นุ่มนิ่ม วัตถุที่สัมผัส ต้องไม่มีพิษภัย หรืออันตรายเมื่อเด็กเอาใส่ปาก


วัย 7 ถึง 9 เดือน 

ลูกจะรู้สึกคันเหงือกเมื่อฟันใกล้ขึ้น ชอบเล่นกับเงาตัวเองในกระจก ชอบโยกตัวเป็นจังหวะเวลาได้ยินเสียงเพลง ชอบจับต้องสิ่งของต่าง ๆ สนใจในเรื่องน้ำหนัก รูปร่าง เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยการใช้ร่างกายทุกส่วนสัมผัส ของเล่นควรเป็นยางหรือพลาสติกสำหรับกัด อาจใช้ผักสดชิ้นโต ๆ ล้างให้สะอาดก็ได้ ให้เล่นจ๊ะเอ๋หรือซ่อนหา หรือเป็นของเล่นที่เคลื่อนไหวได้ เช่น ลูกบอล ของเล่นไขลานเดินได้ หมุนได้มีเสียง ฝึกให้เด็กฟังจังหวะเพลงโดยการเปิดเพลงให้ฟัง


วัย 10 ถึง 12 เดือน
เริ่มหัดตั้งไข่ เกาะยืน จับโต๊ะ เก้าอี้ หรืออุปกรณ์อื่น เพื่อพยุงตัวลุกขึ้นหัดเดินเตาะแตะ ชอบหยิบของเล็ก ๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ชอบเล่นตบแผละและเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ ของเล่นวัยนี้ คือ ลูกบอล หรือตะกร้อที่กลิ้งได้ รถที่มีเชือกลากของ กล่องที่มีพลาสติกสีต่าง ๆ ไว้ให้เด็กล้วงหยิบ ของรูปทรงต่าง ๆ ที่ให้เด็กใส่ให้ตรงช่อง จัดภาชนะใบใหญ่ให้เด็กขว้างลูกบอล หรือของอื่นใส่


โดย ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์

เรียบเรียงโดย www.พัฒนาการเด็ก.com

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2011 - 2016 พัฒนาการเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เลี้ยงลูกรักให้มีความสุขสมวัย