ประโยชน์ในการเล่นของเด็กทารก
1.ใช้สายตามองเพื่อประสานจับสิ่งของ
2.ฝึกควบคุมการใช้กล้ามเนื้อให้แข็งแรง
3.เข้าใจผลที่เกิดขึ้น เช่น เคาะของแล้วมีเสียงดัง
4.ฝึกการแก้ปัญหา เช่น เอาของเล่นออกจากกล่อง
5.มีการตอบสนองกับผู้เล่นเช่นเล่นจ๊ะเอ๋
การเล่นกับทารก
1.วัย 1-4 เดือน ชอบมองของสีสันสดใส เด็กจะสนใจใบหน้าคนเป็นพิเศษ พ่อแม่หาโมบายสีสันสดใสแขวนไว้ข้างเตียง บางอย่างมีเสียงด้วยเด็กจะชอบเล่นได้นานขึ้น เลื่อนของเล่นเข้าออกฝึกให้ลูกใช้กล้ามเนื้อตาและรู้ระยะทาง
2.เสียงดนตรีออเคสต้าฝึกให้ลูกแยกแยะเสียงที่ได้ยินและพัฒนาการของสมอง เวลาฟังเพลงพ่อแม่จับลูกโยกตัวยกแขน ยดขาด้วย
3.วัย 4 เดือน ลูกจ้องมองได้ดีหาหนังสือทำด้วยฟองน้ำชี้ให้ลูกมองตาม เล่าให้ฟังด้วยเสียงสูงต่ำ
4.วัย 8 เดือนขึ้นไป เล่นจ๊ะเอ๋ เคาะของให้เกิดเสียง
5.อายุใกล้ 1 ปีลูกเริ่มเลียนแบบสอนลูกบ๊ายบาย เต้นตามเสียงเพลง
อันตรายจากของเล่น
ของเล่นมีประโยชน์ก็จริงแต่ของเล่นในท้องตลาดบางอย่างอาจไม่ได้มาตรฐาน อาจดูจากเครื่องหมาย มอก. ของเล่นที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้ห้ามให้ทารกและเด็กเล่นเด็ดขาด
1. ใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงาน อาจเกิดกระแสไฟรั่วได้
2. ปล่อยชิ้นส่วนให้พุ่งออกไปได้
3. มีเสียงดังมากอาจมีผลต่อประสาทหูเด็ก
4. มีสายหรือเชือกยาวเกินกว่า 20 เซนติเมตร อาจพันรอบคอเด็กรัดแน่นจนหายใจไม่ออก
5. มีส่วนประกอบที่แหลมคม
6. ไม่ทนทานแยกเป็นชิ้นเล็กๆได้
7. ทำจากสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
8. มีขนาดเล็กมากอาจอุดกั้นทางเดินหายใจได้ การดูขนาดสิ่งของควรให้มีขนาดใหญ่กว่า 4.4 ซม. ทดสอบโดยใช้แกนกระดาษชำระถ้าของเล่นผ่านแกนกระดาษชำระได้แสดงว่ามีขนาดเล็กเกิน ไม่เหมาะสำหรับเด็กอายต่ำกว่า 3 ปี
9. ลูกโป่งไม่ควรนำมาให้เด็กเล็กเล่นอาจกลืนและหลุดเข้าไปอุดกลั้นทางเดินหายใจได้
เรียบเรียงโดย ทีมงาน พัฒนาการเด็ก
ลิงค์บทความ :
http://www.พัฒนาการเด็ก.com/2012/02/baby-toys.html
0 comments:
แสดงความคิดเห็น