พัฒนาการเด็ก: รอบรู้เรื่อง "นอน" ของเจ้าตัวเล็ก คู่มือเลี้ยงลูก หนังสือเสริมพัฒนาการ ของเล่นเสริมพัฒนาการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารเด็ก เด็กสองภาษา ดนตรีเพื่อลูกรัก นิสัยการนอน ฟันน้ำนมซี่แรก ภาษาลูกน้อย หน้าที่ของบิดามารดา เลี้ยงลูกให้ฉลาด เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก คู่มือเลี้ยงเด็ก



พัฒนาการเด็ก
ยินดีต้อนรับสู่ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับลูกน้อย
พัฒนาการลูกรัก ♥ ช้าไม่ได้ อ่านเลยนะคะ
ถ้าเห็นว่าเว็บไซต์นี้ดีมีประโยชน์ โปรดช่วยบอกต่อ

รอบรู้เรื่อง "นอน" ของเจ้าตัวเล็ก

รอบรู้เรื่อง "นอน" ของเจ้าตัวเล็ก



เด็กแต่ละคนมีระยะเวลาชั่วโมงการนอนหลับพักผ่อนแตกต่างกันตามนาฬิกาในสมอง (Biological clock) ตามธรรมชาติของแต่ละคน ในแต่ละวัยจะกำหนด

เจ้าตัวเล็กแรกเกิดใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน แต่พออายุเดือนมากขึ้นก็จะนอนน้อยลงเรื่อย ๆ อาจทำให้คุณคิดว่าเจ้าตัวเล็กนอนยากขึ้นหรือนอนไม่ได้นานเหมือนก่อน ซึ่งพฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็กที่เกิดขึ้น ทำให้คุณรู้สึกไม่เข้าใจจนเกิดความหงุดหงิดใจขึ้นได้ แต่ถ้าเราได้รู้จักธรรมชาติของพฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็ก ก็จะช่วยทำให้คุณเลี้ยงเขาอย่างเข้าใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะชวนคุณไปทำความเข้าใจ พฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็กกันค่ะ

ความสำคัญของการนอนของเจ้าตัวเล็กนั้น มีผลต่อการเติบโตต่อร่างกาย เพราะการนอนหลับจะมีฮอร์โมนเรียกว่า โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมากระตุ้นให้ร่างกายเติบโต ใยประสาทจะเชื่อมโยงกับเซลล์ จึงทำให้สมองเติบโตด้วย ฉะนั้นเจ้าตัวเล็กที่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ก็จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี เรียนรู้ได้มากแต่การนอนหลับของเจ้าตัวเล็กตามธรรมชาตินั้น ไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่างที่เราเห็นนาฬิกาในสมอง จะกำหนดให้เจ้าตัวเล็กได้พักผ่อนตลอดเวลาของการนอนจริง ๆ ก็ต่อเมื่อได้หลับรวดเดียวประมาณเดือนที่ 6 ขึ้นไปแล้ว

พ.ญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่าเด็กทารกมีการนอนหลับไม่สนิทโดยเฉพาะช่วงแรก ๆ ของชีวิต ซึ่งจะมีการเคลื่อนไหวของนัยตาอย่างรวดเร็วว่า Rapid eye movement สลับกับการหลับเงียบสนิทที่เรียกว่า Quiet sleep หรือ Non-rapid-eye-drop movement จึงทำให้บางครั้งนอนดิ้น ส่งเสียงครวญครางแต่ยังตื่นไม่เต็มที่ คุณไม่ควรเข้าไปอุ้มหรือให้กินนม เพราะจะเป็นการไปปลุกให้เด็กซึ่งกำลังหลับในช่วงหลับไม่สนิทให้ตื่นขึ้น แทนที่จะหลับต่อไปได้อีก

ข้อมูลจากหน่วยกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า พฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน โดยสามารถแจกแจงให้เห็นชัดเจนดังต่อไปนี้

0 - 3 เดือน การหลับและตื่นของทารกแรกเกิดมักจะเฉลี่ยเท่า ๆ กันทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน เจ้าตัวเล็กจะนอนหลับวันละประมาณ 20 ชม. ต่อวัน แต่ในช่วงแรกมักจะนอนกลางวันมากกว่ากลางคืน มีเวลาตื่นที่ไม่แน่นอน การนอนอาจเปลี่ยนไปทุกสัปดาห์และ จะปรับตัวมานอนตอนกลางคืนมากกว่าได้เองในไม่ช้า
3 - 6 เดือน เจ้าตัวเล็กจะหลับกลางวันน้อยลง นอนกลางคืนมากขึ้น โดยจะหลับรวดเดียวไปจนถึงเช้า ไม่ตื่นมากินนมตอนกลางคืนเหมือนก่อน คุณก็ไม่จำเป็นต้องปลุก ให้เจ้าตัวเล็กตื่นขึ้นมาดูดนมหรือกลัวว่าจะหิว เพราะเขาได้กินนมไว้เต็มที่แล้วค่ะ ความต้องการนอนในช่วงนี้จะลดลงเป็น 15-16 ชม.
6 - 12 เดือน ส่วนใหญ่จะสามารถนอนหลับได้นานรวดเดียวในเวลากลางคืน โดยจะไม่ตื่นมาดูดนมกลางคืนอีก ส่วนกลางวันก็จะหลับเป็นช่วงสั้น ๆ วันละ 2 ครั้ง รวมเวลาหรือความต้องการนอน 13-14 ชม.

เมื่อเด็กโตขึ้นระยะเวลาของการหลับสนิทก็จะเพิ่มขึ้นจาก 50% ไปจนถึง 70-80% ของระยะเวลาการนอนหลับทั้งหมด ทำให้รอบของการหลับมีความคล้ายคลึงกับผู้ใหญ่คือ หลับได้นานขึ้นแต่ระยะเวลาของการหลับสนิทก็ยังสั้นกว่าผู้ใหญ่อยู่ดี ซึ่งถ้ามีอะไรมาทำให้เด็กตื่นระหว่างการนอน ก็จะทำให้เด็กกลับไปหลับต่อเนื่องจากเดิมได้ยาก ทำให้เกิดปัญหา เช่น พอเจ้าตัวเล็กตื่นกลางดึกแล้วจะไม่ยอมนอนต่อ จะลุกขึ้นมาเล่นบางรายเมื่อถึงเวลานอนแล้วจะไม่ยอมนอน เป็นต้น

การหาสาเหตุหรือที่มา ของปัญหาเหล่านี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจเจ้าตัวเล็กและ หาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้อง เพราะการที่เจ้าตัวเล็กนอนยากหรือ นอนไม่ได้นานส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากสภาพกาย และสภาพจิตของเจ้าตัวเล็ก ดังนี้

1. นอนกลางวันมากเกินไป เจ้าตัวเล็กที่นอนกลางวันมาก ๆ กลางคืนก็จะตาสว่าง เพราะไม่ง่วงจึงไม่ยอมนอน
2. ไม่สบาย บางทีเป็นสัญญาณเตือนว่าเจ้าตัวเล็กอาจเริ่มเป็นไข้หวัด ตัวร้อน หรืออาจเกิดจากความไม่สบายตัว เช่น อากาศร้อนหรือหนาวเกินไปหรือแน่นท้อง เป็นต้น
3. ไม่ได้ออกกำลัง ครอบครัวที่ทะนุถนอมเจ้าตัวเล็กมากจนเกินไป ไม่ค่อยปล่อยให้เด็กได้เล่น โดยเกรงว่าจะได้รับอันตรายทำให้เจ้าตัวเล็กไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน จึงหลับยากกว่าเจ้าตัวเล็กที่ได้เล่นสนุกจนเหนื่อย จึงหลับได้ง่ายและทำให้หลับได้สนิทกว่า
4. ชดเชยเวลา คุณพ่อคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน ทำให้รู้สึกว่าไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับเจ้าตัวเล็ก จึงพยายามชดเชยให้กับเขาในเวลาที่กลับมาบ้านตอนค่ำ ทำให้เลยเวลานอนจนเจ้าตัวเล็กตาแข็งนอนไม่หลับ
5. มีสิ่งรบกวน เช่น ผู้ใหญ่ในบ้านดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุในห้องนอน แสงและเสียง จะทำให้เจ้าตัวเล็กนอนไม่หลับได้
6. กังวลหรือหวาดกลัว เจ้าตัวเล็กที่ถูกขู่ว่าจะถูกทิ้ง เช่น มีน้องใหม่ ขู่ว่าตุ๊กแกจะมากินตับหรือถ้าไม่ยอมนอนจะให้ผีมาหลอก ฯลฯ การดูทีวีที่โลดโผนก่อนนอนอาจทำให้เขาฝันร้ายและสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ
7. แปลกที่ การย้ายที่นอน เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่นอนไม่หลับเวลานอนแปลกที่ พ่อแม่พาไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้ว พักที่โรงแรมเจ้าตัวเล็กบางคนไม่ยอมนอนร้องกลับบ้าน จนพ่อแม่บางคนต้องยอมขับรถพาลูกกลับบ้านก็มี แต่ที่ถูกต้องควรปลอบโยนให้กำลังใจ ให้เขาปรับตัวได้ในที่สุด

ไม่มีปัญหาอะไรที่แก้ไขกันไม่ได้ถ้าคุณมีความรักและ ความเข้าใจเป็นสายใยในครอบครัว การรู้จักธรรมชาติของภาวะการปรับตัวของทารก โดยเฉพาะพฤติกรรมของเจ้าตัวเล็กแต่ละขวบวัย การรู้ที่มาของการนอนน้อยลง การนอนไม่หลับ หลับยากขึ้น จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีอย่างมีสติและ เชื่อว่าสามารถลดความเครียดทั้งของเจ้าตัวเล็กและของคุณได้ค่ะ

ขอขอบคุณ : นิตยสาร BABY’S DIGEST
เรียบเรียงโดย : ทีมงานพัฒนาการเด็ก
URL : www.พัฒนาการเด็ก.com/2013/01/baby-sleep.html

5 comments:

Tinnakorn013 กล่าวว่า...

ดีครับ

Satang..Art กล่าวว่า...

ข้อมูลดีมากเลยค่ะ กำลังคิดอยู่ว่าลูกนอนพอไหม ขอบคุณสำหรับบทความดีๆคะ

คุณแม่มือใหม่ กล่าวว่า...

กำลังเตรียมตัวเลี้ยงค่ะ

May กล่าวว่า...

ตัวเล็กที่บ้าน ตอนกลางคืนเค้ามักจะตื่นขึ้นมาหลายๆครั้ง แต่พอเอานมให้เค้าดูดเค้าก้สามารถหลับต่อได้ แต่ก็จะตื่นขึ้นมาใหม่ และเป็นแบบนี้เรื่อยๆ จะมีผลต่อพัฒนาการของเค้าไหมค่ะ และเค้าจะนอนพอไหม

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าลูกยังเล็กให้นมช่วงกลางคืนไม่เป็นไรนะคะ เริ่มอายุประมาณ 9 เดือน ค่อยๆ ลดเวลาในการดูดนมช่วงกลางคืนลง น้องจะค่อยๆ ปรับตัวจนสามารถนอนยาวตลอดคืนได้เองค่ะ

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2011 - 2016 พัฒนาการเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เลี้ยงลูกรักให้มีความสุขสมวัย